ownCloud คืออะไร? Cloud Storage สำหรับองค์กรที่นิยมใช้กันทั่วโลก!

GG Kamonchanok/ February 22, 2024/ Knowledge Base/ 0 comments

ในยุคที่เทคโนโลยีของการจัดการข้อมูลและการแบ่งปันไฟล์เป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการพัฒนาและการดำเนินงานขององค์กรต่างๆ ที่ต้องการเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย การมีแพลตฟอร์มที่สามารถจัดการและแบ่งปันไฟล์ข้อมูลที่เชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ในบทความนี้ จึงขอมาแนะนำ “ownCloud” แพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงในการจัดการข้อมูลและแบ่งปันไฟล์ที่น่าสนใจ มีความยืดหยุ่น และตอบโจทย์การใช้งานสำหรับธุรกิจและองค์กรทั่วโลก  

ownCloud คืออะไร? 

คือบริการ Cloud Storage ในรูปแบบ Open-Source ที่ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับองค์กร มีลักษณะการใช้งานที่คล้ายคลึงกับ Dropbox หรือ Google Drive โดยถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บข้อมูลของตนเองได้อย่างสะดวกและปลอดภัย รวมถึงการใช้งานไฟล์และการแชร์ไฟล์งานต่างๆ ร่วมกับบุคคลอื่น โดยไม่เสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูล การโจรกรรม หรือการละเมิดกฎระเบียบด้านความเป็นส่วนตัว 

สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลากหลายช่องทางและหลากหลายอุปกรณ์ เช่น การใช้งานผ่าน Web Browser โดยสามารถเชื่อมต่อจากอุปกรณ์และระบบปฏิบัติการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Windows, Mac OSX, iOS และ Android และยังรองรับส่วนขยายสำหรับการแก้ไขเอกสารออนไลน์ รวมถึงการซิงค์ปฏิทินและผู้ติดต่อ โดยผู้ใช้งานสามารถติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ของตนเองหรือใช้บริการจากผู้ให้บริการ Cloud Computing แบบแยกต่างหากได้

ประวัติของ ownCloud เริ่มต้นอย่างไร ?  

บริษัทได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2010 โดย Frank Karlitschek เป็นโปรเจกต์ Open-Source เพื่อใช้ในการโฮสต์และซิงค์ไฟล์ และต่อมาในปี 2012 ได้มีการเปิดขายให้กับลูกค้าเป็นครั้งแรก โดยเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงไฟล์ที่มีการใช้งานเช่นเดียวกับ Dropbox และกลายเป็นโปรเจกต์ Open-Source ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกโดยมีผู้ร่วมพัฒนามากกว่า 1,000 คน ต่อมาในปี 2016 Frank Karlitschek ได้ลาออกจากบริษัทและเริ่มทำธุรกิจของตนเองเพื่อแสวงหาวิสัยทัศน์ใหม่นั่นก็คือ Nextcloud  และในเวลาต่อมา ownCloud ได้มี CEO คนใหม่คือ Tobias Gerlinger โดยบริษัทมุ่งเน้นการพัฒนาไปท่ีการใช้งานสำหรับผู้ใช้ขนาดใหญ่จากภาครัฐและภาควิทยาศาสตร์ โดยในปี 2018 ก็ได้ถูกรวมอยู่ใน Gartner Magic Quadrant T สำหรับ Content Collaboration Platforms (CCP) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ Open-Source เดียวในโลกที่ถูกนับรวมเข้าไป 

ในปี 2019 ได้เปิดให้บริการ ownCloud.online ที่ออกแบบให้เพียงพอกับความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กและกลาง เพื่อขยายตลาดและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อก้าวเป็นระบบที่ถูกใช้งานชั้นนำของตลาด ซึ่งช่วยให้ทั้งบริษัท โรงเรียน สถาบัน และรัฐบาลสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ทำให้ในปัจจุบันมีลูกค้าในระดับองค์กรมากกว่า 500 รายและผู้ใช้งานทั้งหมด 200 ล้านคนทั่วโลก  

และล่าสุดในปี 2021 ที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัวรูปแบบ Infinite Scale ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ที่ถูกเขียนใหม่ตั้งแต่ต้น โดยใช้ภาษา Programing Go รวมถึงการพัฒนา User Interface ใหม่ที่แยกออกมา โดยใช้ Vue.js อีกทั้งยังมีการมีการรองรับการทำงานร่วมกับ Container Microservice และ API ทำให้มีความเสถียร ปลอดภัย และมีความเร็วในการทำงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ  

ownCloud มีจุดเด่นอะไรบ้าง? 

เครดิตภาพ :  https://shorturl.at/rJVX9
  • การแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน  

ปลดล็อกประสิทธิภาพการทำงานที่ผ่านการแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ได้อย่างสะดวกและยืดหยุ่น ซึ่งในแต่ละองค์กรจำเป็นต้องมีการควบคุมสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และช่วยให้องค์กรสามารถจัดเก็บไฟล์ได้อย่างปลอดภัยและทำให้พนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงได้ โดยสร้างการเข้าถึงจุดเดียวสำหรับพื้นที่จัดเก็บไฟล์ทั้งหมด ซึ่งทำให้ง่ายต่อการค้นหาข้อมูล รวมถึงการจัดการสิทธิ์การเข้าถึง และการติดตามการใช้งาน โดยระบบไฟล์เสมือน Virtual File System (VFS) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถซิงค์แผนผัง Directory แบบเต็มโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่อุปกรณ์ โดยจะซิงค์ไฟล์เสมือน เช่น ข้อมูล Meta เกี่ยวกับประเภท ขนาด และวันที่ของไฟล์ และถ่ายโอนไฟล์ทั้งหมดเมื่อจำเป็นเท่านั้น  

  • การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน 

ช่วยให้การทำงานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่เป็นเรื่องสะดวก สามารถค้นหา แก้ไข และแชร์เอกสารผ่านแอปพลิเคชันสำหรับ iOS และ Android ซึ่งมีความปลอดภัยสูงสุดในระดับองค์กร และสามารถเก็บไฟล์หรือโฟลเดอร์แบบออฟไลน์ได้ มาพร้อมกับเว็ปแอปพลิเคชันที่มีคุณสมบัติครบครัน เพื่อให้การใช้งานไม่เกิดความขัดข้องบนอุปกรณ์ใหม่และระบบความเป็นส่วนตัวอย่างเว็บแอปพลิเคชัน รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับชุดโปรแกรมสำนักงานบนเบราว์เซอร์ เช่น Collabora, ONLYOFFICE และ Microsoft Office Online Server

  • การกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล  

สามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์แก่บุคคลภายนอก บนอุปกรณ์ใดก็ได้ รวมถึงแบ่งปันไฟล์และโฟลเดอร์โดยไม่จำกัดขนาด สามารถส่งลิงก์พร้อมการกำหนดรหัสผ่านและกำหนดวันหมดอายุได้ตามต้องการ ซึ่งผู้ดูแลระบบ (admins) สามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการ ทั้งในระดับของผู้ใช้และระดับของโฟลเดอร์ สิทธิ์เหล่านี้สามารถกำหนดได้ ดังนี้

– สิทธิ์ของผู้ใช้ (User Permissions) : ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดสิทธิ์ในการใช้งานของแต่ละผู้ใช้ได้ โดยสามารถกำหนดให้ผู้ใช้มีสิทธิ์ในการอัปโหลด ดาวน์โหลด แก้ไข ลบ หรือแชร์ไฟล์ รวมถึงสิทธิ์ในการดูข้อมูลเท่านั้น

– สิทธิ์ของโฟลเดอร์ (Folder Permissions) : ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดสิทธิ์ให้กับกลุ่มผู้ใช้หรือผู้ใช้แต่ละคนในแต่ละโฟลเดอร์ได้ โดยสิทธิ์นี้สามารถกำหนดให้ผู้ใช้มีสิทธิ์ในการอ่าน เขียน และแชร์ไฟล์ในโฟลเดอร์นั้น ๆ 

– สิทธิ์พิเศษ (Special Permissions) : นอกเหนือจากสิทธิ์ทั่วไป ยังมีสิทธิ์พิเศษบางประเภทที่สามารถกำหนดได้ เช่น การกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้ที่เป็นผู้ดูแลโฟลเดอร์ หรือสิทธิ์ในการใช้งานแอปพลิเคชันเฉพาะ 

  • ความปลอดภัยในการใช้งาน 

สามารถกำหนดไฟล์และโฟลเดอร์ที่สามารถเข้าถึงได้เพื่อการใช้งานที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงปกป้องข้อมูลที่มีความสำคัญจากบุคคลภายนอก รวมถึงปกป้องไฟล์และโฟลเดอร์ด้วยวิธีการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุม มีการเข้ารหัสในขณะที่อยู่ในพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและในการโอนย้ายข้อมูล ด้วยการออกแบบความเป็นส่วนตัวตั้งแต่ขั้นแรก (Privacy-by-Design) สถาปัตยกรรม Zero-Knowledge-Architecture รวมถึงการให้บริการโฮสติ้งบนพื้นที่เครือข่าย (on-premises hosting) ทำให้เป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยสำหรับข้อมูลที่สำคัญ โดยมีการตรวจสอบสิทธิ์การเข้าถึงและการปฏิบัติตามนโยบายอย่างเข้มงวด  

เมื่อมีการแบ่งปันไฟล์หรือโฟลเดอร์ ข้อมูลจะไม่ออกไปจากฮาร์ดไดรฟ์ของบริษัทหรือองค์กรนั้น ซึ่งผู้รับจะต้องยืนยันตัวตนก่อน รวมถึงสามารถตั้งค่า Secure View สำหรับเอกสารสำนักงานและไฟล์ PDF สามารถตั้งในโหมดอ่านเท่านั้นพร้อมกับข้อจำกัดและลายน้ำอย่างครบครัน  

ประโยชน์จากการใช้งาน ownCloud

  • มีความเป็นส่วนตัวและความความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ : สามารถติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ของตนเองหรือติดตั้งบน Cloud Computing ซึ่งจะช่วยควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบการเข้ารหัสทำให้ข้อมูลขององค์กรปลอดภัยจากการถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการถูกขโมยข้อมูล 
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำร่วมกัน : ผู้ใช้สามารถแบ่งปันและแชร์ไฟล์ได้อย่างสะดวก สามารถกำหนดสิทธิ์และการเข้าถึงไฟล์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ รวมถึงการทำงานร่วมกันบนเอกสารและไฟล์ต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้ทำงานร่วมกันภายในทีมหรือกับบุคคลภายนอกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  
  • ความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล : ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกอุปกรณ์ เพียงแค่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต 
  • การสำรองข้อมูล : สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำรองข้อมูลได้ ด้วยการสร้างการสำรองข้อมูลอัตโนมัติและเก็บข้อมูลไว้ในที่ที่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการสำรองข้อมูลอัตโนมัติ การสำรองข้อมูลที่มีการรักษาความปลอดภัย และการสำรองข้อมูลย้อนหลัง
  • ความหลากหลายและความยืดหยุ่น : มีความยืดหยุ่นในการติดตั้งและสามารถใช้งานบนหลายแพลตฟอร์ม รองรับการทำงานบนคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต และอุปกรณ์อื่น ๆ เพียงเชื่อมต่อผ่านแอปพลิเคชั่น

คุณพร้อมใช้งาน ownCloud แล้วหรือยัง ? 

ownCloud ช่วยให้องค์กรของคุณสามารถแบ่งปันและซิงค์ข้อมูลได้อย่างปลอดภัย และสามารถทำได้บนแพลตฟอร์มทุกชนิด ควบคุมตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลและสามารถทำงานร่วมกันได้ในหลายอุปกรณ์ โดยไม่เสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูล การโจรกรรม หรือการละเมิดข้อกำหนดเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว รวมถึงมีแพลตฟอร์มในการแบ่งปันเนื้อหาอื่นๆ อีกมากมาย  

สำหรับผู้ที่สนใจใช้บริการสามารถติดตั้งพร้อมใช้งานได้บน OpenLandscape Cloud ที่ https://gate.openlandscape.cloud  

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อ OpenLandscape ได้ผ่านทางอีเมล technical-support@ols.co.th หรือ Call Center 02-257-7189 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 


ข้อมูลอ้างอิง 

https://owncloud.com/ 

https://en.wikipedia.org/wiki/

https://www.bestinternet.co.th/single_blog.php?id=12

https://www.nuttdam.com/2022/06/install-owncloud-server-in-docker/ 

 

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>
*
*