Vps กับ Cloud Computing เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

Chanakan Budrak/ June 28, 2019/ Knowledge Base/ 0 comments

Vps กับ Cloud Computing เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

vps cloud หลาย ๆ คนคงจะคุ้นเคยกันดีกับ VPS แต่ก็อาจจะมีหลาย ๆ คน พอได้ยินคำว่า Cloud Computing แล้วก็อาจจะมีอาการงง ๆ ได้ว่าแท้จริงแล้วมันต่างกันหรือไม่ ซึ่งอันที่จริงแล้วด้านการใช้บริการนั้นแทบไม่มีความต่างกันเลยค่ะ แต่ส่วนที่แตกต่างกันจริง ๆ อย่างเห็นได้ชัดก็คือในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure ซึ่งบทความนี้เราเลยอยากจะมาอธิบายให้เห็นกันชัด ๆ ว่า vps กับ cloud ต่างกันอย่างไรค่ะ


ความแตกต่างของ Vps และ Cloud Computing

ด้านกระบวนการทำงาน

Vps: กระบวนการทำงานแบบ Vps นั้นจะทำงานบน เซิฟเวอร์ (Physical Server) แค่เครื่องเดียว โดยจะแบ่งทรัพยากรต่าง ๆ ตามที่ผู้บริการกำหนด โดยจะทำงานแยกออกจากกัน 

Cloud Computing: กระบวนการทำงานแบบ Cloud Computing จะเป็นการทำงานรวมกันของ เซิฟเวอร์ (Physical Server) จำนวนมาก โดยจะแบ่งการประมวลผลออกเป็นสองส่วนด้วยกันดังนี้ ชั้นแรกคือชั้นประมวลผล (Computing Layer) ในชั้นนี้เราจะแบ่งทรัพยากรอย่าง CPU และ Memory ตามจำนวนการใช้งานของผู้ใช้งาน โดยจะมีเซิฟเวอร์ทำงานร่วมกันจำนวนมาก หากมีเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียหาย ระบบจะทำการย้ายไปทำงานบน เซิฟเวอร์เครื่องอื่นแทน ส่วนในชั้นที่สองคือ 

ชั้นเก็บข้อมูล (Storage Layer) โดยจะใช้การเก็บข้อมูลแบบ SAN ซึ่งโดยส่วนมากจะใช้ SAN อย่างน้อย 2 ตัวขึ้นไป ทั้ง 2 ตัวนี้จะทำหน้าที่เก็บข้อมูล (Replicate) และอัพเดตข้อมูลตลอดเวลาเหมือนกัน ทำให้เมื่อมีเครื่องหนึ่งพังอีกเครื่องก็จะยังคงทำงานอยู่ ดังนั้นข้อมูลภายในเครื่องจะได้ไม่หาย


ด้านความสามารถในการขยาย 

Vps: มีความสามารถในการขยายตัวค่อนข้างจำกัด เพราะขึ้นอยู่กับ Spec ของ เซิฟเวอร์ (Physical Server) คุณสามารถทำการเพิ่ม Memory และ CPU บน Vps ของคุณ แต่คุณไม่สามารถเพิ่ม Spec ของเซิฟเวอร์หลักที่ใช้อยู่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ 

Cloud Computing: มีความสามารถในการขยายตัวมาก โดยสามารถทำการเพิ่มหรือลดได้ทุกที่ทุกเวลาแบบอัตโนมัติ ทำให้ไม่มีข้อจำกัดในด้านการเก็บข้อมูล ทั้งยังสามารถทำระบบ Load Balance กระจายการทำงานไปยังเครื่องทั้งหมดใน Cloud เท่าๆ กัน ทำให้การทำงานโดยเฉลี่ยเร็วขึ้น


ด้านความปลอดภัยของข้อมูล 

Vps: เนื่องจาก Vps นั้นทำงานบน เซิฟเวอร์ (Physical Server) เพียงแค่เครื่องเดียว ทำให้มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ฮาร์ดแวร์เกิดความเสียหายหรือชำรุด ซึ่งหากเกิดขึ้นก็ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหายาวนาน ทั้งยังมีโอกาสที่จะทำข้อมูลของเราสูญหายได้

Cloud Computing: มีความปลอดภัยที่ค่อนข้างสูง เพราะมีการออกแบบให้มีความสามารถแบบ High Availability (HA) ที่ช่วยในการเพิ่ม SLA ของระบบ เช่น ในกรณีที่ ฮาร์ดแวร์เสียไม่สามารถใช้การได้ ระบบจะย้ายไปทำงานบนเครื่องอื่นโดยอัตโนมัติภายในไม่กี่วินาที 


ด้านราคาและค่าใช้จ่าย

Vps: มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าแบบระบบ Cloud Computing จึงเป็นทางเลือกที่สะดวกและสบายกระเป๋ากว่า ซึ่งปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ในราคาเดือนละไม่กี่ร้อยไปจนถึงพัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของเรา 

Cloud Computing: มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า เพราะมีต้นทุนของระบบที่สูงกว่าแบบอื่นมากเช่นมีค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพยากร และระบบต่าง  ๆ ที่ซับซ้อนมากกว่า 


แล้วเราควรจะเลือกใช้อะไรดีระหว่าง Vps กับ Cloud Computing

Vps: เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการลงทุนสร้างทรัพยากรขึ้นมาเอง และต้องการประหยัดเงิน มีสเกลงานในขนาดที่ไม่ใหญ่มาก ไม่ได้ต้องการใช้ทรัพยากรมากนัก และไม่มีแพลนที่จะขยายทรัพยากรอย่างรวดเร็วในอนาคต 

Cloud Computing: เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการลงทุนสร้างทรัพยากรขึ้นมาเอง ต้องการความปลอดภัยสูง มีโอกาสที่จะต้องใช้ทรัพยากรมาก และมีโอกาสที่จะขยายทรัพยากรอย่างรวดเร็วในอนาคต 


พอจะเห็นความแตกต่างของ vps กับ cloud กันไปแล้วใช่มั้ยคะ อย่างไรก็ตามระบบทั้งสองแบบนี้ก็มีคุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป และขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ต้องการนำไปใช้ ซึ่งก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนขึ้นและตัดสินใจเลือกได้ง่ายขึ้นค่ะ

จบการศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มีความชื่นชอบและติดข่าวสารวงการเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ ด้วยความที่เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก จึงมีความเชื่อว่าแม้จะเป็นคนธรรมดาทั่วไปก็สามารถเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีได้

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>
*
*