ปรับทัพธุรกิจ คิดให้ทันลูกค้า ข้อสรุปจากงาน “Priceza E-Commerce Summit 2020
Thailand E-Commerce Trends 2020
ภาพรวมตลาด E-Commerce ไทย และเทรนด์ธุรกิจที่น่าจับตามองในปี 2020 นี้ นับได้ว่ามีความน่าสนใจมากขึ้น จากพฤติกรรมของคนไทยที่เริ่มปรับตัวเข้ากับโลกออนไลน์มากขึ้น จากสถิติแสดงอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี และแน่นอนว่าด้วยช่องทางที่มากขึ้น ทำให้เกิดผู้แข่งขันทาบธุรกิจมากขึ้น ทำให้หลายๆธุรกิจต้องเริ่มดึงจุดเด่นของสินเค้าหรือบริการ การประสานช่องทางที่หลากหลายเป็นหนึ่งเดียว รวมไปถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างการทำการรวบรวมข้อมูลลูกค้าที่มีตัวตนจริงๆเพื่อนำไปทำ Big Data ในอนาคต
สรุปข้อมูลสถิติที่น่าสนใจจาก Priceza
(Source: Thailand E-Commerce Trends 2020 by Priceza , https://www.slideshare.net/secret/bEkuMwOImIcnLY)
ช่องทางที่คนไทยใช้ในการซื้อขายสินค้ามากที่สุด
-
ช่องทาง Social Media 40% :
โดยเฉพาะ Conversation Commerce คนไทยมีการซื้อขายผ่านการการแชทมากขึ้น)
- ช่องทาง E-Marketplace 35% :
เช่น Shopee, Lazada, JD Central ,….,
-
ช่องทาง E-Tallers/Brands.com 25%
ช่องทางสำหรับ E-Commerce ที่มีหน้าร้าน เช่น Tesco Lotus, King Power, JIB, TVD ,…,)
99% ซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟน
ผู้ประกอบการต้องพิจารณาในการปรับธุรกิจ หรือหน้าร้านเว็บไซต์ ให้รองรับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนการใช้งานโดยมือถือให้มากยิ่งขึ้น77% ทำการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือแบรนด์มากขึ้น
ช่องทางการ Search เป็นช่องทางที่ควรให้ความสำคัญมากขึ้น รวมไปถึงการติดตาม Customer Feedback เมื่อถูกพูดถึงแบรนด์หรือสินค้าบนช่องทาง Community ให้มากขึ้น56% มีการเปรียบเทียบราคากับคู่แข่ง
ต้องทราบ Positioning ของแบรนด์ตนเอง เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มมีการเปรียบเทียบมากขึ้น เพราะทางเลือกในปัจจุบันมีหลากหลายมากขึ้น
(Source: Thailand E-Commerce Trends 2020 by Priceza , https://www.slideshare.net/secret/bEkuMwOImIcnLY)
ช่องทางที่คนไทยมีการชำระเงินมากที่สุด
-
ช่องทาง Bank Transfer 43% (การโอนเงิน)
-
ช่องทาง Credit Card 38% (การชำระผ่านบัตรเครดิต)
-
ช่องทาง COD หรือ Cash on Delivery 17% (การชำระเงินปลายทาง)
-
ชำระผ่านช่องทางอื่นๆ
(Source: Thailand E-Commerce Trends 2020 by Priceza , https://www.slideshare.net/secret/bEkuMwOImIcnLY)
5 เทรนด์ E-Commerce น่าจับตามองในปี 2020
- Cross-Border E-Commerce
การเข้ามาของร้านค้าต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี (โดยเฉพาะจีน) และมีความได้เปรียบมากขึ้น
เนื่องจากราคาที่ถูกกว่า ถึง 53% และระยะเวลาการส่งข้ามประเทศที่เร็วขึ้นถึง 100% - DTC: Direct to Customer
แบรนด์มีความต้องการเข้าถึงลูกค้าของตนมากขึ้น ตามเทรนด์ของการทำ Data-Driven Business ที่ต้องการเป็นเจ้าของข้อมูลในการสร้าง Brand Loyalty เอง
โดยไม่ต้องการพึ่งพาแพลทฟอร์มอื่นๆอีก - Thailand : World’s Leader in Social Commerce
ไทยเป็นผู้นำด้านการซื้อขายผ่าน Social Media สูงสุดถึง 40% และปัจจุบันในบางช่องทางโซเชียลสามารถทำการชำระเงินได้เลยในแพลทฟอร์มนั้นๆ - Same day delivery
ในปี 2020 การส่งถึงที่จะถูกผนวกรวมเข้ากับ E-Commerce (2019 จะเป็น Food Delivery) เช่นการส่งของที่สั่งในเว็บผ่าน Grab หรือ Gosend ก็คือสั่งและสามารถรับของได้เลยทันที - Omni Channel
สิ่งสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ปัจจุบัน คือการผสมผสานช่องทางการขาย แบบ Offline และ Online ไว้ด้วยกัน โดยจะทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าหรือแบรนด์ได้อย่างไร้รอยต่อที่สุด
สรุปเพิ่มเติมจาก Session ภายในงาน
เปิดกลยุทธ์ Website Direct จาก JIB
– ต้องพยายามเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าของตนเองเช่นกลุ่มคนที่จะสั่งของจาก JIB อาจจะมีพฤติกรรมบางอย่างที่แตกต่างจากกลุ่มคนที่สั่งของอื่นๆ เช่น มักจะชอปปิ้งตอนกลางคืน
– JIB สร้างมาตรฐานใหม่ให้การส่งสินค้า โดยการการันตีของถึงภายใน 3 ชั่วโมง ไม่ว่าจะสั่งเวลาไหน
– เกิดกระแสบนโซเชียลขึ้นเอง เนื่องจากทาง JIB ยึดมั่นในนโยบายการขาย ไม่ผิดสัญญาลูกค้า
– จากการศึกษาพฤติกรรมลูกค้า ทาง JIB ตัดสินใจเปิดให้สั่งสินค้าช่วงกลางคืนด้วย เป็น 24 Hrs Delivery
และทืทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นจากเดิม
– รูปสินค้าเป็นสิ่งที่ JIB ให้ความสำคัญมาก เนื่องจากลูกค้าที่สั่งของออนไลน์ จะไม่ได้เห็นตัวสินค้าเอง ดังนั้นสินค้าทุกชิ้นที่ขายบนเว็บไซต์ของ JIB จะมีการนำสินค้าจริงมาเข้าสตูดิโอถ่ายรูปของทางแบรนด์เองใหม่ทุกรูป
Social Commerce & E-Marketplace Strategy ในยุค 5G
– Chatbot เข้ามาช่วยให้จบออเดอร์ได้เองเลย และมากถึง 2000 order/day
– Tracking No. is painpoint for online merchant เพราะทำให้จบขายเองโดยอัตโนมัติไม่ได้
– การทำ Social Commerce ให้ทำตามพฤติกรรมของคนประเทศนั้นเลย เช่น ขายคนไทยก็ต้องติดโฟลวเพื่อคนไทย ex. คนไทยไม่ชอบใช้เครดิตการ์ด เลยคิดการจ่ายเงินแบบ รับของเมื่อจ่ายเงิน แบบนี้จะได้รับความนิยมในไทยกว่า และเหมาะกับไลฟ์สไตล์คนไทย (ซึ่งต่างจากต่างชาติมาก)
– คนยินดีที่จะคุยกับบอท แต่บอทต้อง Solve ปัญหาให้กับลูกค้าได้จริงๆ (จำเป็นต้องให้บอทเกิดการเรียนรู้)
ล้วงลึก E-Marketplace Strategy ปี 2020
โดย JD Central / Shopee / Lazada
สิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการในปัจจุบัน
– shopee -> catch the trend ตามให้ทันเทรนด์ต่างๆของลูกค้า ตามทันเทคโนโลยีของแต่ละ platform ที่จะมาช่วยเรา และปรับตัวให้ไวที่สุด
– lazada -> data driven by customer segmentation is important แบ่งเซกเม้นลูกค้า เพื่อแยกรูปแบบการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าแบบต่างๆได้ตรงจุดมากขึ้น เก็บข้อมูลได้เยอะจะยิ่งแบ่งได้ละเอียด
– jd central -> communicate to target customer by different channel : ถอยกลับมาคิดใหม่ ไม่ยึดติดกับช่องทางการขายใดเพียงช่องทางหนึ่ง แต่ละลูกค้าจะมี channel การขายต่างกัน บางกลุ่มขายได้แต่บน online แต่บางกลุ่มอาจจะไม่
case pre-order/free trade zone จากจีน
ลูกค้า ได้ประโยชน์เรื่องราคา เพราะไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย
ผู้ประกอบการได้เปิดช่องทางการขายมากขึ้น ไม่จำกัดแค่ในประเทศ แต่ต้องปรับตัวให้แข่งขันได้ มองวิกฤตเป็นโอกาสมากกว่า อย่าคิดว่าจะโดนแย่ง ให้คิดวิธีไปแย่งเค้าแทน
double double campaign
//sme จะไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เท่าไรเพราะชินกับการทำอะไรแบบเดิมๆ
//shopee พยายามผลักดันให้เกิด Data หรือ forecast อะไรบางอย่าง ผ่าน tools สำหร้บช่วย seller ในการขายของให้ได้ผลที่ดีขึ้น เช่นการทำโปรในบางช่วงเวลาที่มีแนวโน้มว่าจะขายได้มากขึ้น
สรุปภาพรวมภายในงาน จะเน้นย้ำความสำคัญไปที่การปรับตัวตามพฤติกรรมลูกค้า การก้าวให้ทันเครื่องมือต่างๆของแพลตฟอร์ม การปรับตัวให้ไวเพื่อการแข่งขันกับต่างชาติ รวมไปถึงเรื่องของความสำคัญในการเก็บข้อมูลเพื่อสร้างฐานข้อมูลลูกค้าในการวิเคราะห์การตลาดที่จะตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น.
จบการศึกษาจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ พระจอมเกล้าลาดกระบัง
มีความสนใจด้านเทคโนโลยี และมีความเชื่อว่า หากเราสามารถวางตัวเอง
ให้ก้าวทันเทคโนโลยีอยู่เสมอจะช่วยให้เราได้พัฒนาทั้งชีวิตของตนเอง
ครอบครัว และยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้