LEMP คือ อะไร ? ชุดซอฟต์แวร์พัฒนา Web Application ยอดนิยม !

Thanatcha Veeravattanayothin/ November 2, 2022/ Knowledge Base/ 0 comments

LEMP คือ อะไร ?

LEMP Stack หรือ LEMP คือ อักษรย่อของชุดซอฟต์แวร์สำหรับใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์และ Web Application ที่เป็น Open Source และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีลักษณะเป็นแบบ Modular ทำให้สามารถเลือกใช้หรือถอดเปลี่ยนส่วนประกอบต่าง ๆ ได้สะดวกตามที่ต้องการ โดย LEMP มีความคล้ายกับ LAMP แต่แตกต่างกันที่ Web Server ที่ใช้ไม่เหมือนกัน เนื่องจาก LEMP ใช้ Nginx หรือ Engine-X ส่วน LAMP ใช้ Apache


LEMP ย่อมาจากอะไรบ้าง ?

ภาพประกอบ 1 LEMP คือ อะไร ?

ที่มาของตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้ง 4 ตัวของ LEMP ย่อมาจาก Linux, Nginx, MySQL และ PHP, Perl หรือ Python ซึ่งแต่ละ Software ทำหน้าที่อะไรบ้าง OpenLandscape Cloud ได้สรุปข้อมูลมาให้เรียบร้อยแล้ว

ทำไมต้อง LEMP แทน LNMP ?

สาเหตุที่เป็น LEMP เนื่องจากการออกเสียงของ Nginx หรือ Engine-X คือ En-Juhn-Ecks ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้เสียงของตัวอักษรคำอ่านตัวแรก คือ E มากกว่าการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกที่เขียนด้วยตัว N นอกจากนี้ LEMP ยังออกเสียงได้เข้าใจง่ายมากกว่าและไม่เหมือนการอ่านออกเสียงแบบเรียงตัวอักษร

L ย่อมาจาก Linux 

Linux เป็นระบบปฏิบัติการ (OS) ที่มีบทบาทสำคัญเหมือนระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (Open System) ถูกพัฒนาใน Bell Laboratories ของบริษัท AT&T โดย Unix ถูกออกแบบให้เป็น Multiusers หรือ ผู้ใช้งานสามารถใช้งานร่วมกันได้หลายคนในเวลาเดียวกัน และ Multitasking หรือ สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ 

Linux ยังเป็น Open source ที่นักพัฒนาสามารถนำไปใช้งาน เผยแพร่ แก้ไขหรือดัดแปลงได้อย่างอิสระโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมหรือค่า License ทำให้ Linux ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังรองรับการใช้งานในระยะเวลานานได้ดี รวมถึงมีความปลอดภัยจากไวรัส  

นอกจากนี้ Linux สามารถติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีทรัพยากรน้อย แต่ยังทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังทำงานได้หลากหลายและเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการก็ไม่สามารถดำเนินขั้นตอนต่อไปได้ โดย Linux นิยมนำมาทำ Server จำนวนมาก เช่น CentOS, RedHat, Ubuntu เป็นต้น 

ทำไมต้องใช้ Linux ?

  • มีความปลอดภัยสูง
  • มีความเสถียรสูง
  • ใช้งานได้ฟรี และเป็น Open Source
  • ได้รับการสนับสนุนจาก Community ของนักพัฒนาที่แข็งแกร่ง
  • มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งและใช้งาน

E ย่อมาจาก Nginx หรือ Engine-X

Nginx หรือ Engine-X เป็น Open Source สำหรับพัฒนา Web Server แบบ Reverse Proxy หรือการรอรับ Request จาก Internet แล้วทำการ Forward ข้อมูลเข้าสู่ Network เพื่อให้ระบบภายนอกไม่สามารถ Connect เข้ามายังระบบภายในโดยตรง จึงทำให้สามารถป้องกันการโจมตีจากภายนอกได้  

Nginx ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 2004 โดย Igor Sysoev วิศวกร Software ชาวรัสเซีย ในช่วงเริ่มต้น Nginx ถูกใช้งานเฉพาะแค่ภายในประเทศรัสเซียเท่านั้น ต่อมาจึงมีการทำคู่มือภาษาอังกฤษและเริ่มแพร่หลายการใช้งานมากขึ้นไปทั่วโลก

นอกจากนี้ Nginx ยังช่วยในการ Load Balance ของการอัปโหลด ดาวน์โหลด หรือใช้ในการ Streaming, การดูวิดีโอ, การฟังเพลง และสื่อต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากช่วยให้มีพื้นที่รองรับจำนวนผู้ใช้งานได้มากกว่าและสามารถรองรับการใช้งานได้หลากหลายกว่า Apache อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงมีความเสถียรสูง ใช้งานทรัพยากร RAM และ CPU ในระบบน้อย ทำให้สามารถเรียกการทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังรองรับทั้งระบบ Linux และ Windows 

ทำไมต้องใช้ Nginx ?

  • การติดตั้งและการกำหนดค่าใช้งานง่าย
  • รองรับการปรับสมดุล Load Balancing
  • สามารถจัดการการเชื่อมต่อพร้อมกันได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับ Apache
  • ประมวลผล Static Files ได้รวดเร็วมากขึ้น
  • สามารถใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันอื่น ๆ ที่ใช้กันทั่วไปได้โดยไม่มีปัญหา
  • รองรับมาตรฐานในด้านความปลอดภัย HTTP/2
  • รับรองการทำงาน HTTP
  • รองรับผู้ใช้งานได้มากขึ้นด้วยการทำงานแบบ Asynchronous สามารถทำงานให้เสร็จได้ทันที โดยไม่ต้องรอทำงานให้เสร็จตามลำดับ 

M ย่อมาจาก MySQL

MySQL เป็นระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ Database Management System (DBMS) แบบข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบตาราง แบ่งเป็นแถว และในแต่ละแถวแบ่งออกเป็นคอลัมน์ (Column) เพื่อเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลในตารางกับข้อมูลในคอลัมน์ที่กำหนด โดยใช้ RDBMS Tools สำหรับควบคุมและจัดเก็บฐานข้อมูลที่จำเป็น ทำให้นำไปประยุกต์ใช้งานได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอีกด้วย 

MySQL เป็น Open Source ถูกคิดค้นโดย MySQL AB ในประเทศสวีเดน สร้างขึ้นจากชาวสวีเดน 2 คน คือ David Axmark และ Allan Larsson ร่วมกับชาวฟินแลนด์ Michael Monty Widenius ต่อมาในปี ค.ศ. 2008 ถูก Takeover จากบริษัท Sun Microsystems รวมกับ Oracle Corporation ในปี ค.ศ. 2010

MySQL นิยมใช้งานร่วมกับภาษาโปรแกรม PHP และภาษาอื่น ๆ อีกทั้งยังได้รับการออกแบบและปรับให้เหมาะสมสำหรับพัฒนาเว็บไซต์และ Web Application ทำให้สามารถทำงานได้ทุกแพลตฟอร์ม พร้อมทั้งอนุญาตให้ผู้ใช้งานหลายคนจัดการและสร้างฐานข้อมูลจำนวนมาก จึงทำให้ MySQL เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Commerce (E-Commerce) เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานสร้างเว็บไซต์ทั่วไป โดยมีโปรแกรมช่วยจัดฐานข้อมูลที่ใช้งานง่าย มีความแม่นยำ และครบครัน ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีความน่าเชื่อถือสูง เช่น Mysql Admin, phpMyAdmin เป็นต้น

ทำไมต้องใช้ MySQL ?

  • เป็น Open Source ที่มีความปลอดภัย
  • มีการปกป้องข้อมูลที่แข็งแกร่ง
  • สามารถขยายพื้นที่การใช้งานได้มากขึ้น
  • มีประสิทธิภาพสูง
  • มีความสามารถในการปรับขนาดและความยืดหยุ่นสูง

P ย่อมาจาก PHP, Perl หรือ Python

PHP (PHP Hypertext Preprocessor) เป็น 1 ใน 3 ภาษาหลักที่ใช้ใน LEMP โดยภาษาอื่นในลำดับถัดมา ได้แก่ Perl และ Python โดย PHP เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ โดย Rasmus Lerdorf สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1994 ประเภท Scripting Language ซึ่งภาษาประเภทนี้เก็บคำสั่งต่าง ๆ ในไฟล์ที่เรียกว่า Script และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปรชุดคำสั่ง โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษาซี (C Programming Language) ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) และ ภาษาเพิร์ล (Practical Extraction and Report Language) ซึ่ง PHP เป็นภาษา Script ที่ออกแบบมาสำหรับพัฒนาเว็บไซต์ได้ดี และสามารถประมวลผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยเป้าหมายหลักของภาษา PHP คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียนเว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็วจึงได้รับความนิยมมากในหมู่ Developer

ทำไมต้องใช้ PHP ?

  • ได้รับการสนับสนุนจาก Community นักพัฒนาขนาดใหญ่
  • มีตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับการเชื่อมต่อฐานข้อมูล
  • เป็น Open Source ใช้งานได้ฟรี 
  • สามารถใช้ PHP ในการพัฒนาเว็บไซต์ด้วย WordPress ซึ่งเป็น Content Management System ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก

4 ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ LEMP

ภาพประกอบ 2 LEMP คือ อะไร ?

1. เป็นแหล่งรวม Community Support : LEMP ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนนักพัฒนาอย่างกว้างขวาง ทำให้ได้รับคำแนะนำดี ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงความช่วยเหลือต่าง ๆ ทำให้การพัฒนามีประสิทธิภาพสูงและสมบูรณ์แบบ

2. เป็นเทคโนโลยี Open Source : LEMP เป็น Open Source ที่ใช้งานได้ฟรีและมีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องการใช้งานเทคโนโลยี อีกทั้งยังมีการอัปเดตข้อมูลใหม่ ๆ อยู่เป็นประจำและมีการพัฒนาคุณภาพให้ทันสมัยและปลอดภัยอยู่เสมอ

3. รวม Technology คุณภาพมาให้ใช้งาน : LEMP ได้รับการสนับสนุนที่ดีและมีการใช้งานทั่วโลกใน Web Application ที่มีมาตรฐานสูงมากมาย นอกจากนี้ยังมี Linux ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีความปลอดภัยสูง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่อมัลแวร์และไวรัสน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ Windows หรือ MacOS และ Nginx ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความเร็วได้มากขึ้น สามารถจัดการเรื่อง Load Balancing ได้ดี รวมถึง PHP และ MySQL ที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานส่วน Back End เมื่อทำงานร่วมกันจึงยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการสนับสนุนจากชุมชนนักพัฒนาขนาดใหญ่และผู้ให้บริการ Hosting หลายรายรองรับ

4. รองรับการทำงานแบบ Asynchronous : เป็นการทำงานแบบ Non-Block I/O ที่สามารถทำงานให้เสร็จทันทีได้เลย โดยคำสั่งก่อนหน้าสามารถ Callback กลับมาทำงานต่อภายหลังได้ ทำให้การดำเนินงานมีความรวดเร็วมากขึ้น


คุณพร้อมใช้งาน LEMP แล้วหรือยัง ?

เมื่อคุณได้ทำความรู้จัก LEMP คือ อะไร และทราบถึงประโยชน์ที่ได้จากการใช้งาน LEMP แล้วอยากเริ่มต้นการใช้งาน อันดับแรกต้องมีระบบปฏิบัติการ Linux และทำการติดตั้ง Nginx, MySQL และ PHP, Perl หรือ Python ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกระบบปฏิบัติการที่ตัวเองคุ้นเคย เพื่อใช้งานได้ตามความสะดวก โดยวิธีการติดตั้งเป็นการติดตั้งแยก ของ Open Source แต่ละตัว และนำมารวมกันจึงกลายเป็น LEMP ให้ได้ใช้งานกัน 

แต่คุณสามารถติดตั้งและใช้งาน LEMP ได้ง่าย ๆ ในไม่กี่คลิกบน OpenLandscape Cloud ได้เลยที่ https://gate.openlandscape.cloud

หากมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อ OpenLandscape ผ่านทางอีเมล technical-support@ols.co.th หรือ Call Center 02-257-7189 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 


ข้อมูลอ้างอิง

https://lemp.io

https://www.vcowo.com

https://www.mindphp.com

https://6131305039.medium.com

https://blog.metrabyte.cloud/nginx

https://www.geeksforgeeks.org/what-is-lemp-stack

https://medium.com/devbake

จบการศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>
*
*