Digital Transformation คืออะไร ? มาทำความรู้จักเพื่อให้ธุรกิจของคุณ ก้าวไปสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล !
บทความนี้มีหัวข้ออะไรบ้าง
Digital Transformation คืออะไร ?
เริ่มต้นทำ Digital Transformation ได้อย่างไร ?
คุณพร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ยุคดิจิทัลด้วย Digital Transformation แล้วหรือยัง ?
Digital Transformation คืออะไร ?
Digital Transformation หรือ (DX) คือ การนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลเข้ามาใช้ในการวางรากฐานและการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีการวางแผนที่สอดคล้องกับยุคดิจิทัล พร้อมพัฒนาหรือสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นในการทำงาน เพื่อยกระดับบุคลากรทุกตำแหน่งภายในองค์กร ให้มีความพร้อมและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย เพื่อเพิ่มความยั่งยืนให้กับองค์กร ได้ก้าวทันโลกในยุคปัจจุบัน สู่อนาคตที่ดีกว่าเดิมอย่างมั่นคง
เริ่มต้นทำ Digital Transformation ได้อย่างไร ?
1. กำหนดจุดประสงค์ในการทำ Digital Transformation ให้ชัดเจน
Digital Transformation เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยการปรับปรุงกระบวนการที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งอาจมีหลายขั้นตอนและใช้ระยะเวลานาน อีกทั้งยังต้องหาแนวทางที่เหมาะสมกับองค์กร เพื่อลดข้อผิดพลาดหรือลดความเสี่ยงที่อาจกระทบกับธุรกิจได้
ทั้งนี้ Digital Tranformation ยังคงเป็นนิยามกว้าง ๆ ที่ไม่ได้มีกลยุทธ์ชัดเจนว่าต้องทำอย่างไร ดังนั้นการกำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น
- ลดต้นทุนหรือเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจในภาพรวมที่ดียิ่งขึ้น
- เพิ่มความคล่องตัวให้กับองค์กร (Agile) ด้วยการปรับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรสู่ระบบดิจิทัล ช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยลดกระบวนการที่ไม่จำเป็น รวมถึงขั้นตอนและงานด้านเอกสารให้ลดน้อยลง มุ่งเน้นเรื่องการสื่อสารกันในทีมให้มากขึ้น เพื่อร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
- เพื่อเพิ่มคุณค่าของประสบการณ์ทางดิจิทัลให้กับลูกค้า สร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือ จนได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าและกลายเป็นลูกค้าประจำอย่างยั่งยืน (Brand Loyalty)
- เพื่อค้นหาความต้องการของลูกค้าจากการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ให้มีความแม่นยำมากขึ้นและสามารถนำไปใช้ในการช่วยตัดสินใจ เพื่อสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการครองใจลูกค้าได้อย่างแม่นยำ
2. เพิ่มความรู้เรื่องเทคโนโลยีให้บุคลากรและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การทำ Digital Transformation ให้สำเร็จ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายและกระบวนการทำงานที่มีความคล่องตัว ดังนั้นบุคลากรจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยี หรือ มีผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจในรูปแบบของกระบวนการทำงานที่มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีศักยภาพ และควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจมาปรับใช้ เพื่อช่วยสนับสนุนเป้าหมายทางธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว อาทิเช่น
- ใช้เทคโนโลยีเอไอ (AI) เพิ่มความคล่องตัวให้กับธุรกิจและช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น
- บริการ Call Center 24 ชั่วโมง โดยสามารถตอบคำถามของลูกค้าได้ทั้งคำถามทั่วไปและคำถามเฉพาะเจาะจงในหลากหลายภาษารองรับกลุ่มลูกค้าต่างชาติ
- บริการ Chat Bot ที่มีประสิทธิภาพในการให้ข้อมูล คำปรึกษาหรือคำแนะนำกับผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง รวมถึงสามารถแจ้งโปรโมชันใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าได้อีกด้วย
- บริการแนะนำสินค้าและบริการให้กับลูกค้าแบบรายบุคคลตามความเหมาะสมและตรงตามความต้องการ ตามการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive Analysis) เพื่อสร้างความสัมพันธ์อย่างรู้ใจกับลูกค้าที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้มากยิ่งขึ้น
- จัดทำเว็บไซต์ภายในที่ครอบคลุมข้อมูลสำคัญในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางด้าน IT ข้อมูลเรื่องผลประโยชน์ รวมถึงสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ของพนักงาน และนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Policy) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพนักงานสู่โลกดิจิทัล
- ปรับเปลี่ยนการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าที่กระจัดกระจายสู่ระบบ CRM โดยโอนย้ายข้อมูลจากอีเมล หรือ Call Center ไปยังระบบที่ใช้บันทึกข้อมูลลูกค้า (CRM) เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้บริการ เป็นต้น
- เพิ่มการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านความปลอดภัย เพื่อป้องกันและยกระดับเรื่องคุณภาพในธุรกิจ สินค้าและบริการ เช่น ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะภัยร้ายจากผู้ไม่ประสงค์ดีทางไซเบอร์อาจทำลายภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือต่อลูกค้า รวมถึงความเสียหายนับไม่ถ้วนที่จะทำลายธุรกิจของคุณจนยากจะกอบกู้คืน
3.จัดลำดับแผนขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Road Map)
การทำ Digital Transformation ควรเริ่มทำทีละขั้นตอน เริ่มจากการจัดลำดับแผนงานในเรื่องการทดสอบสมมุติฐานในระดับเล็ก ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการเปลี่ยนแปลงในเรื่องใหญ่ทั้งหมด โดยในการดำเนินการแต่ละขั้นตอนควรจบด้วยการระบุผลงานที่ลดความเสี่ยง (Risk Mitigation Milestone) อาทิเช่น
- มีการวางแผนรับมือกับความเสี่ยง โดยมีแนวทางป้องกัน (MITIGATION PLAN) การแก้ไข (CONTINGENCY PLAN) และการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
- แสดงผลลัพธ์จากกระบวนการในการระบุ วิเคราะห์ ประเมิน ดูแลตรวจสอบ และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับกิจกรรม หน้าที่ และกระบวนการทำงานที่ดำเนินอยู่ เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด
นอกจากนี้การจัดลำดับแผนงานจะไม่สมบูรณ์ หากไม่กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ดังนั้นการตั้ง KPI เพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพของแผนการดำเนินงานสามารถช่วยตัดสินใจทิศทางของธุรกิจได้อย่างมั่นคงอีกด้วย
คุณพร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ยุคดิจิทัลด้วย Digital Transformation แล้วหรือยัง ?
สุดท้ายนี้มาเตรียมความพร้อมเพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจด้วยการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้งานอย่างเหมาะสมกับองค์กร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพที่มากยิ่งขึ้น พร้อมดำเนินงานตามลำดับขั้นตอนอย่างปลอดภัย มีการปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวะของยุคสมัยและความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ เพื่อเติบโตไปข้างหน้าด้วยความรอบคอบและรัดกุมสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
หากมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ บริษัท บริษัท โอเพ่นแลนด์สเคป จำกัด ผ่านทางอีเมล technical-support@ols.co.th หรือศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าหมายเลข 02-257-7189 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.dmit.co.th/th/zendesk-updates-th/what-is-digital-transformation/
https://www.dmit.co.th/th/zendesk-updates-th/how-to-digital-transformation-2022/
https://aigencorp.com/3-types-of-ai-for-business/
จบการศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ