มาเพิ่มพื้นที่ Instance ด้วย Mount Volume บน Linux กันเถอะ!

Chanakan Budrak/ April 10, 2019/ FAQ/ 0 comments

มาเพิ่มพื้นที่ Instance ด้วย Mount Volume บน Linux กันเถอะ!

หนึ่งในปัญหาการใช้งาน Instance ส่วนใหญ่ที่เรามักจะพบกัน คือ ปัญหาหน่วยความจำเต็ม หรือ Disk เต็ม ทำให้เราไม่สามารถเก็บข้อมูลเพิ่มได้ หรือ ปัญหา Run Service บาง Service ไม่ได้ แล้วอย่างนี้เราจะทำยังไงเมื่อพื้นที่เต็มละ คำตอบง่าย ๆ ก็คือเราจะต้องเพิ่ม Disk เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานนั่นเอง แล้วอย่างนี้การเพิ่มพื้นที่ หรือ หน่วยความจำบน Instance กับ คอมพิวเตอร์ ต่างกันหรือไม่ แล้วขั้นตอนมีอะไรบ้าง และถ้า OS ต่างกันมีวิธีต่างกันมั้ย วันนี้เราเลยจะมาอธิบายวิธีเพิ่มพื้นที่ Instance ด้วยการ Mount Volume บน Linux กันค่ะ สำหรับใครที่ต้องการ เพิ่มพื้นที่ Instance ด้วยการ Mount New Volume บน Windows Server 2012 R2 สามารถคลิกเข้าไปอ่านกันได้ค่ะ


การเพิ่มพื้นที่ บน Instance ต่างกับ เพิ่มบนคอมพิวเตอร์หรือไม่

คำตอบก็คือต่างกันค่ะ เพราะว่าบนคอมพิวเตอร์ เวลาที่หน่วยความจำเต็ม หรือ พื้นที่จัดเก็บ เราก็แค่เปลี่ยน หรือ เพิ่มหน่วยความจำ ด้วยการเพิ่ม RAM หรือ Disk ตามขนาดที่เราต้องการได้ จากนั้นตั้งค่าอีกนิดหน่อยเพียงเท่านี้ก็เสร็จเรียบแล้วค่ะ

แต่ !!

สำหรับ Instance นั้นเราจะต้องสร้าง Volume เพิ่ม เพื่อนำไป Mount กับ Instance ที่เราต้องการ แค่นี้การเพิ่มหน่วยความจำเสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ


ขั้นตอนการสร้าง Volume

อันดับแรกให้กด Create Volume ด้านขวาบน เพื่อสร้าง Volume

Create Volume

ใส่ข้อมูลของ Volume ที่เราต้องการ เช่น Name, Size (GB), Attach to (Instance)

Volume

หลังจากนั้น คุณจะได้ Volume เพื่อนำมาเชื่อมกับ Instance แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้นเราต้องทำการ Mount Volume ก่อนใน Instance ถึงจะใช้งาน Volume ตัวนั้นได้ค่ะ


ขั้นตอนการ Mount Volume

อันดับแรกให้คุณเปิด Terminal ของ Instance ขึ้นมา

Mount Volume 1

ทำการ Check ว่า Volume ที่สร้างนั้น อยู่ในเครื่อง Instance ยัง โดยใช้ Command : lsblk จะได้ตามตัวอย่าง

Mount Volume 2

ให้คุณทำการแบ่ง Partition โดยใช้ Command : sudo fdisk /dev/vdb ตามตัวอย่าง

Mount Volume 3

จากนั้น ลองใช้ Command : lsblk ดูว่ามีอะไรที่เปลี่ยน

Mount Volume 4

ต่อมา ใช้ Command : mkfs.ext4 /dev/vdc1 เพื่อสร้าง filesystem ของ /dev/vdc1

Mount Volume 5จากนั้นให้ใช้ Command : mkdir [ชื่อที่จะตั้ง] เพื่อสร้าง Directory ที่ใช้เก็บ Disk
Mount Volume 6

และใช้ Command : mount -t ext4 /dev/vdc1 /[ชื่อ directory ที่สร้างไว้ก่อนหน้านี้] เพื่อผูก Disk ไว้กับ Directory โดยจะเป็นไฟล์ประเภท ext4 และใช้ df -h เพื่อตรวจสอบว่าเราได้ทำการ Mount ไว้ค่ะ

Mount Volume 7

พอถึงจุดนี้ ทุกคนคงคิดว่าทำการ Mount Volume สำเร็จแล้ว แต่จริงๆไม่ใช่ค่ะ เพราะถ้าทำการ Reboot Volume ที่ Mount จะหายไป แต่ก็มีวิธีตั้งค่าให้ Volume ที่ Mount ยังอยู่เมื่อทำการ Reboot แล้ว โดยมีวิธีดังนี้ค่ะ


Config Volume Mount on Linux

อันดับแรกให้ใช้ command $ blkid เพื่อดู UUID ของ Volume ที่ทำการ Mount

Volume Mount on Linux 1

ต่อมา ทำการ Copy UUID ของ Volume ที่เราจะทำการ Config

ทำการแก้ไขไฟล์ fstab โดยใช้คำสั่ง $sudo vi /etc/fstab

Volume Mount on Linux 2

นำ UUID ที่ได้ copy มาวางไว้ตามตำแหน่ง

Volume Mount on Linux 3

เสร็จแล้วทำการ Save แลพทำการ Reboot เครื่อง และตรวจสอบโดยใช้คำสั่ง df -h เพื่อดูว่า Volume ที่ Mount นั้นยังอยู่รึป่าว

Volume Mount on Linux 4

ติดตามข่าวสารใหม่ๆ หรือข้อมูลน่ารู้อีกมากมายได้ที่

  OpenLandscape Fanpage | https://www.facebook.com/openlandscapecloud/
  OpenLandscape Twitter | https://www.twitter.com/olscloud/
  OpenLandscape Cloud | https://openlandscape.cloud/

 

จบการศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มีความชื่นชอบและติดข่าวสารวงการเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ ด้วยความที่เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก จึงมีความเชื่อว่าแม้จะเป็นคนธรรมดาทั่วไปก็สามารถเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีได้

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>
*
*