OLS Community

PHP คืออะไร ? มาทำความรู้จักภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมและวิธีติดตั้งบน Ubuntu

PHP คืออะไร ? PHP ย่อมาจากคำว่า PHP Hypertext Preprocessor แต่สมัยก่อนย่อมาจากคำว่า Personal Home Page Tools เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ประเภท Scripting Language ซึ่งภาษาประเภทนี้เก็บคำสั่งต่าง ๆ ในไฟล์ที่เรียกว่า Script และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปรชุดคำสั่ง โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษาซี (C Programming Language) ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) และ ภาษาเพิร์ล (Practical Extraction and Report Language)

PHP สามารถใช้งานได้ผ่านอินเทอร์เน็ต มีความสามารถสูง และมีผู้นิยมใช้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี จากเว็บไซต์ http://php.net/

ลักษณะของ PHP แตกต่างจากภาษาสคริปต์แบบอื่น ๆ เพราะ PHP ได้รับการพัฒนาและออกแบบมาเพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบ HTML สามารถสอดแทรกหรือแก้ไขเนื้อหาได้อัตโนมัติ ดังนั้น PHP จึงเป็นภาษาที่เรียกว่า Server-Side หรือ HTML-Embedded Scripting Language สามารถประมวลผลตามคำสั่งและแสดงผลลัพธ์เป็นเว็บเพจตามที่ต้องการ ถือได้ว่า PHP เป็นเครื่องมือที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถสร้าง Dynamic Web Pages (เว็บเพจที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีลูกเล่นมากขึ้น

PHP เกิดขึ้นมาจากกลุ่มนักพัฒนาที่มีการเปิดเผยโค้ดต้นฉบับ ดังนั้น PHP จึงมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อใช้ร่วมกับ Apache Web Server, ระบบปฏิบัติ เช่น Linux หรือ FreeBSD เป็นต้น ในปัจจุบัน PHP สามารถใช้ร่วมกับ Web Server หลาย ๆ ตัวบนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น Windows 95/98/NT เป็นต้น

PHP เป็นภาษาสคริปต์ (Scripting Language) คำสั่งต่าง ๆ จะเก็บในรูปแบบของข้อความ (Text) อาจเขียนแทรกอยู่ภายในภาษา HTML หรือถูกเขียนอย่างอิสระ แต่ในการใช้งานจริงมักใช้งานร่วมกับภาษา HTML ดังนั้นการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา PHP ต้องมีความรู้ด้านภาษา HTML เป็นอย่างดีจึงสามารถเขียนโปรแกรมได้สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ตามเราสามารถใช้โปรแกรมประยุกต์มาช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างงานได้เช่นกัน เช่น Macromedia, Dreamweaver หรือโปรแกรมประเภท Editor ต่าง ๆ เช่น EditPlus เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะช่วยจำแนกคำต่าง ๆ ด้วยสีที่แตกต่างกันออกไป เช่น คำสั่ง คำทั่วไป ตัวแปร ฯลฯ เพื่อความสะดวกในการสังเกตและยังมีตัวเลขบอกบรรทัดทำให้สะดวกในการแก้ไขมากขึ้นอีกด้วย

PHP จึงเหมาะสำหรับการจัดทำเว็บไซต์และสามารถประมวลผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยเป้าหมายหลักของภาษา PHP คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียนเว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว


รู้จัก PHP คืออะไร เรียบร้อยแล้ว มารู้จัก 10 ลักษณะเด่นของ PHP

เมื่อรู้จักภาษา PHP แล้ว มาทราบถึงลักษณะเด่นของ PHP ทั้ง 10 ข้อ ดังนี้

     1. PHP เปิดให้ใช้บริการฟรี โดยสามารถใช้งานได้ที่ http://php.net/

     2. PHP เป็นโปรแกรม Server-Side Script มีความเร็วสูง รวมถึงมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดี ดังนั้นจึงมีขีดความสามารถไม่จำกัด

     3. PHP สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) ที่หลากหลาย เช่น UNIX, Linux, Windows

     4. สามารถเรียนรู้ภาษา PHP ได้ง่าย เนื่องจาก PHP มักถูกฝังเข้าไปใน HTML จึงมีโครงสร้างและไวยากรณ์ภาษาที่ไม่ยาก

     5. ภาษา PHP มีความเร็วและมีประสิทธิภาพที่ดี โดยเฉพาะเมื่อใช้กับ Apach Xerve เพราะไม่ต้องใช้โปรแกรมจากภายนอก

     6. ใช้ร่วมกับ XML (Extensible Markup Language) หรือภาษาที่ถูกใช้ในการสร้าง Format ได้ทันที

     7. ภาษา PHP สามารถใช้งานร่วมกับระบบแฟ้มข้อมูลได้

     8. สามารถใช้งาน PHP กับข้อมูลตัวอักษรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     9. ใช้ PHP กับโครงสร้างข้อมูล แบบ Scalar, Array หรือ Associative Array ได้

     10. ใช้ PHP กับการประมวลผลภาพได้

เมื่อทราบถึงลักษณะเด่นทั้ง 10 ข้อของ PHP แล้ว มาทราบขั้นตอนการติดตั้ง PHP เวอร์ชันต่าง ๆ บน Ubuntu เพื่อเริ่มใช้งานจริงในหัวข้อลำดับถัดไป


วิธีการติดตั้ง PHP เวอร์ชันต่าง ๆ (5.6, 7.0 และ 7.x) บน Ubuntu

     ปัจจุบันมี PHP 3 รุ่นที่รองรับบน Ubuntu คือ PHP 5.6, 7.0 และ 7.x บน Ubuntu ส่วน PHP 5.3, 5.4 และ 5.5 ได้สิ้นสุดการรองรับแล้ว จึงไม่มีการอัปเดตความปลอดภัยอีกต่อไป ดังนั้นเพื่อให้ Service ของคุณมีความปลอดภัย จึงควรติดตั้งเวอร์ชันที่ได้รับการรองรับ โดยวิธีการติดตั้ง PHP ที่ได้รับการสนับสนุนใน Ubuntu และนิยมมากที่สุด ได้แก่ Apache และ Nginx เว็บเซิร์ฟเวอร์ ที่ใช้ OndrejSury PPA ดังนั้นวิธีการตั้งค่าเวอร์ชันเริ่มต้นของ PHP ที่ใช้ในระบบ Ubuntu มีดังนี้

PHP 7.x เป็นเวอร์ชันที่เสถียร และรองรับในที่เก็บซอฟต์แวร์ Ubuntu คุณสามารถยืนยันได้โดยเรียกใช้คำสั่ง apt ด้านล่างตามคำสั่งต่อไปนี้

# apt show php OR  # apt show php -a

ระบบจะแสดงข้อมูลเวอร์ชัน PHP

ในการติดตั้ง PHP เวอร์ชันเริ่มต้นจากคลังซอฟต์แวร์ Ubuntu ให้ใช้คำสั่งด้านล่าง

# apt install php

หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ใช้คำสั่งด้านล่างในการดูเวอร์ชันปัจจุบันที่ใช้งาน

# php -v


ติดตั้ง PHP (5.6, 7.0, 7.x) บน Ubuntu โดยใช้ PPA

1. เริ่มต้นด้วยการเพิ่ม OndřejSurý PPA เพื่อติดตั้ง PHP เวอร์ชันต่าง ๆ – PHP 5.6, PHP 7.0 และ PHP 7.1 บนระบบ Ubuntu

# apt install python-software-properties

# add-apt-repository ppa:ondrej/php

2. จากนั้นอัปเดตระบบดังนี้

# apt-get update

3. ติดตั้ง PHP เวอร์ชันต่าง ๆ ที่สนับสนุนดังนี้

# apt install php5.6   [PHP 5.6]

# apt install php7.0   [PHP 7.0]

# apt install php7.1   [PHP 7.1]

# apt install php7.2   [PHP 7.2]

# apt install php7.3   [PHP 7.3]

# apt install php5.6-fpm   [PHP 5.6]

# apt install php7.0-fpm   [PHP 7.0]

# apt install php7.1-fpm   [PHP 7.1]

# apt install php7.2-fpm   [PHP 7.2]

# apt install php7.3-fpm   [PHP 7.3]

4. ในการติดตั้งโมดูล PHP เพียงระบุเวอร์ชัน PHP และใช้ฟังก์ชันการเติมข้อความอัตโนมัติเพื่อดูโมดูลทั้งหมดดังต่อไปนี้

———— press Tab key for auto-completion ————

# apt install php5.6   [PHP 5.6]

# apt install php7.0   [PHP 7.0]

# apt install php7.1   [PHP 7.1]

# apt install php7.2   [PHP 7.2]

# apt install php7.3   [PHP 7.3]

5. ตอนนี้คุณสามารถติดตั้งโมดูล PHP ที่ต้องการได้มากที่สุดจากรายการ

          ———— Install PHP Modules ————

# apt install php5.6-cli php5.6-xml php5.6-mysql

# apt install php7.0-cli php7.0-xml php7.0-mysql

# apt install php7.1-cli php7.1-xml php7.1-mysql

# apt install php7.2-cli php7.2-xml php7.2-mysql

# apt install php7.3-cli php7.3-xml php7.3-mysql 

6. ตรวจสอบเวอร์ชันเริ่มต้นของ PHP ที่ใช้ในระบบของคุณด้วยคำสั่ง

# php -v


ตั้งค่าเวอร์ชัน PHP เริ่มต้นใน Ubuntu

7. คุณสามารถตั้งค่าเวอร์ชัน PHP เริ่มต้นที่จะใช้ในระบบด้วยคำสั่ง ทางเลือกการอัปเดต หลังจากตั้งค่าแล้วให้ตรวจสอบเวอร์ชัน PHP เพื่อยืนยันดังต่อไปนี้

———— Set Default PHP Version 5.6 ————

# update-alternatives –set php /usr/bin/php5.6

———— Set Default PHP Version 7.0 ————

# update-alternatives –set php /usr/bin/php7.0

———— Set Default PHP Version 7.1 ————

# update-alternatives –set php /usr/bin/php7.1

———— Set Default PHP Version 7.2 ————

# update-alternatives –set php /usr/bin/php7.2

———— Set Default PHP Version 7.3 ————

# update-alternatives –set php /usr/bin/php7.3

———— Set Default PHP Version 7.4 ————

# update-alternatives –set php /usr/bin/php7.4

8. ในการตั้งค่าเวอร์ชัน PHP ที่จะใช้งานกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache ให้ใช้คำสั่งด้านล่าง โดยอันดับแรกให้ปิดใช้งานเวอร์ชันปัจจุบันด้วยคำสั่ง a2dismod จากนั้นเปิดใช้งานเวอร์ชันที่คุณต้องการด้วยคำสั่ง a2enmod

# a2dismod php7.0

# a2enmod php7.1

# systemctl restart apache2

9. หลังจากเปลี่ยนจากเวอร์ชันหนึ่งเป็นรุ่นอื่นคุณสามารถค้นหาไฟล์กำหนดค่า PHP ได้โดยใช้คำสั่งด้านล่าง

———— For PHP 5.6 ————

# update-alternatives –set php /usr/bin/php5.6

# php -i | grep “Loaded Configuration File”

———— For PHP 7.0 ————

# update-alternatives –set php /usr/bin/php7.0

# php -i | grep “Loaded Configuration File”

———— For PHP 7.1 ————

# update-alternatives –set php /usr/bin/php7.1

# php -i | grep “Loaded Configuration File”

———— For PHP 7.2 ————

# update-alternatives –set php /usr/bin/php7.2

# php -i | grep “Loaded Configuration File”

———— For PHP 7.3 ————

# update-alternatives –set php /usr/bin/php7.3

# php -i | grep “Loaded Configuration File”

———— For PHP 7.4 ————

# update-alternatives –set php /usr/bin/php7.4

# php -i | grep “Loaded Configuration File”

# update-alternatives –config php

ป้อนหมายเลขตัวเลือกที่กล่าวถึงนอกเหนือจากเวอร์ชัน PHP ที่ต้องการ

10. คำสั่งในการ List Package ปัจจุบันสำหรับ Ubuntu

# dpkg –list | grep php

     11. คำสั่งในการ List Package ปัจจุบันสำหรับ Centos

          rpm -qa | grep php

เมื่อดำเนินตามขั้นตอนทั้งหมด คุณสามารถใช้งาน PHP เวอร์ชันที่ปลอดภัย และสำหรับผู้ใช้ PHP เวอร์ชัน 7.2 ที่สนใจอัปเกรด PHP เป็นเวอร์ชันที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อัปเกรดเวอร์ชัน PHP 7.2 เป็น 7.x บน Ubuntu

หากมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อ OpenLandscape ผ่านทางอีเมล technical-support@ols.co.th หรือ Call Center 02-257-7189 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 


ข้อมูลอ้างอิง

ผู้เขียนบทความ : Mr. Weerapong O.T.Chom

https://th.linux-console.net/?p=602