วิธีติดตั้ง WordPress ด้วยเซอร์วิส LAMP บน Ubuntu 16.04
สำหรับใครที่สนใจติดตั้ง WordPress ด้วยเซอร์วิส LAMP บน Ubuntu 16.04 บทความนี้จะช่วยให้คุณ ติดตั้ง แบบ Step by Step แบบง่ายง่าย ๆ ให้คุณเข้าใจได้ไม่ยากกันครับ ในส่วนของ LAMP เป็นตัวอักษรแรกของ OpenSource ที่ประกอบไปด้วย ซอฟต์แวร์ 4 ชนิด มารวมกัน เพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการเว็บ (Web Server) ซึ่งประกอบไปด้วย
1. L= Linux จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ ในบนความนี้จะใช้เป็น Ubuntu 16.04
2. A = Apache คือ Web Server มีไว้สำหรับจัดเก็บ webpage
3. M = MySQL คือ ฐานข้อมูล มีไว้สำหรับจัดเก็บฐานข้อมูลที่จำเป็น
4. P = PHP, Perl หรือ Python ขึ้นอยู่กับผู้ใช้จะเลือกใช้งานตัวไหนที่ตนเองถนัด
สรุปคือการติดตั้ง WordPress ด้วยเซอร์วิส LAMP จะสามารถทำงานบน Service ดังกล่าวที่ได้อธิบายมาข้างต้นนั่นเอง ซึ่งวิธีการใช้งานมีดังนี้ครับ
ก่อนที่คุณจะทำการติดตั้ง Service ท้้งหมด อันดับแรกคุณควรจะทำการ Update Os ก่อน ด้วยคำสั่ง
sudo apt-get update
sudo reboot
ขั้นตอนที่ 1: ติดตั้ง Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์
ในการติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์Apacheให้ใช้คำสั่ง:sudo apt-get install apache2 apache2-utils -y
เมื่อติดตั้งเสร็จต้องเปิดใช้งาน Apache2 ใช้คำสั่งเปิดการใช้งาน เว็บเซิร์ฟเวอร์sudo systemctl enable apache2
sudo systemctl start apache2
เพื่อทดสอบว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์กำลังทำงานหรือไม่ ให้เปิดเว็บเบราว์เซอร์ของคุณและใส่ http://server_address
หน้าเว็บApache2 จะปรากฏขึ้นในกรณีที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ทำงาน
ขั้นตอนที่ 2: ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล MySQL
ต่อไปเราต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลMySQLโดยใช้คำสั่ง:sudo apt-get install mysql-client mysql-server -y
ระหว่างการติดตั้งแพ็คเกจ คุณจะได้รับหน้าต่างแจ้งเตือนให้ตั้งรหัสผ่านผู้ใช้ “root” สำหรับmysql ให้ทำการกำหนดรหัสผ่านขึ้นเอง จากนั้นกดปุ่มOK หลังจากนั้นจะปรากฏหน้าต่างขึ้นมา ให้กด OK เพื่อดำเนินการต่อไป
ขั้นตอนที่ 3: ตั้งรหัสผ่าน root ของ MySQL
สร้างฐานข้อมูล MySQL และผู้ใช้สำหรับ WordPress
ขั้นตอนแรกที่เราจะทำคือขั้นตอนเตรียมการ WordPress ใช้ MySQL เพื่อจัดการและจัดเก็บข้อมูลไซต์และผู้ใช้งาน เราได้ติดตั้ง MySQL แล้ว เราต้องสร้างฐานข้อมูลและผู้ใช้งาน WordPress
ในการเริ่มต้นให้เข้าสู่ระบบบัญชี MySQL root โดยการใช้คำสั่ง:mysql -u root -p
จะปรากฏ mysql> ให้พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ทีละบรรทัดแล้วแก้ไข ข้อมูลให้เป็นของเราเอง หลังจากนั้น กดEnter (ควรแก้ไขข้อความต่อไปนี้ให้เป็นชื่อของคุณเอง openlandscapewordpress, openlandscapeuser, openlandscapePassword
)
สร้างฐานข้อมูล ด้วยคำสั่ง :
mysql> CREATE DATABASE openlandscapewordpress DEFAULT CHARACTER SET utf8 COLLATE utf8_unicode_ci;
สร้าง user ผู้ใช้งานฐานข้อมูลและกำหนดPassword ด้วยคำสั่ง
mysql> GRANT ALL ON openlandscapewordpress .* TO ' openlandscapeuser'@'localhost' IDENTIFIED BY 'openlandscapePassword';
ใช้คำสั่งในการในการกำหนดข้อมูลข้างต้นไว้ในmysql :
mysql> FLUSH PRIVILEGES;
mysql> EXIT;
ขั้นตอนที่ 4: ติดตั้ง PHP และโมดูล
PHP จะเป็น Serviceสุดท้ายของ LAMP เราจะติดตั้งPHPและโมดูล เพื่อทำงานกับเว็บไซต์และเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลโดยใช้คำสั่งด้านล่าง:sudo apt-get install php7.0 php7.0-mysql libapache2-mod-php7.0 php7.0-cli php7.0-cgi php7.0-gd -y
เมื่อทำการติดตั้งเสร็จ เพื่อทดสอบว่าPHPสามารถทำงานร่วมกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ เราต้องสร้างไฟล์ info.phpไว้ภายใน / var / www / html โดยใช้คำสั่งตามด้านล่าง
sudo vi /var/www/html/info.php
นำโค๊ดด้านล่างลงไปในไฟล์ และบันทึก<?php
phpinfo();
phpinfo(INFO_MODULES);
?>
เมื่อเสร็จแล้วให้เปิดเว็บเบราว์เซอร์แล้วพิมพ์ที่อยู่ http://server_address/info.php
ถ้าทำตามขั้นตอนถูกต้องจะสามารถดูหน้าข้อมูล php ด้านล่างผ่านหน้าเว็บเบราว์เซอร์เป็นดังภาพ
ขั้นตอนที่ 5: ติดตั้ง WordPress
เปลี่ยนไดเร็กทอรีที่เก็บไฟล์Wordpress และทำการดาวน์โหลดไฟล์:cd /tmp
curl -O https://wordpress.org/latest.tar.gz
แตกไฟล์Wordpress ไดเรกทอรี WordPress:tar xzvf latest.tar.gz
สร้างไฟล์ .htaccess และตั้งค่าการอนุญาตสิทธิ์โดยใช้คำสั่ง:touch /tmp/wordpress/.htaccess
chmod 660 /tmp/wordpress/.htaccess
เราจะคัดลอกไฟล์ wp-config-sample.php ไปยังชื่อไฟล์ใหม่ wp-config.php ที่ ไดเรกทอรี WordPress ด้วยคำสั่งcp /tmp/wordpress/wp-config-sample.php /tmp/wordpress/wp-config.php
สร้างไดเรกทอรี upgrade เพื่อที่ว่า WordPress จะไม่เจอปัญหาเรื่องการอนุญาตสิทธิการเข้าถึงไฟล์mkdir /tmp/wordpress/wp-content/upgrade
ทำการคัดลอกไฟล์ทั้งหมดของไดเรกทอรีWordpress ไปไว้ในส่วน ไดเรกทอรีของเว็ปไซต์ ด้วยคำสั่งsudo cp -a /tmp/wordpress/. /var/www/html
ขั้นตอนที่ 6: กำหนดค่าไดเรกทอรี WordPress
ก่อนที่เราจะทำการติดตั้ง WordPress บนเว็บเราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบางรายการในไดเรกทอรี WordPress
ก่อนอื่นเราต้องทำการตั้งค่าการอนุญาตไฟล์และการเป็นเจ้าของsudo chown -R www-data:www-data /var/www/html
ต่อไปเราจะตั้งค่าsetgidในแต่ละไดเรกทอรีภายในเอกสารเรา
เราสามารถตั้งค่าsetgidในทุกไดเรกทอรีในการติดตั้ง WordPress ของเราโดยพิมพ์:sudo find /var/www/html -type d -exec chmod g+s {} \;
ก่อนอื่นเราจะให้สิทธิ์เป็นกลุ่มในwp-contentไดเรกทอรีเพื่อให้เว็บอินเตอร์เฟสสามารถเปลี่ยนแปลงธีมและปลั๊กอินได้:sudo chmod g+w /var/www/html/wp-content
ขั้นตอนนี้เราจะให้เว็บเซิร์ฟเวอร์เข้าถึงเนื้อหาทั้งหมดในไดเรกทอรีทั้งสองนี้:sudo chmod -R g+w /var/www/html/wp-content/themes
sudo chmod -R g+w /var/www/html/wp-content/plugins
ขั้นตอนที่ 7: การตั้งค่าไฟล์ WordPress
คือการปรับเปลี่ยนคีย์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสำหรับการติดตั้ง WordPresscurl -s https://api.wordpress.org/secret-key/1.1/salt/
จะได้รับคีย์ที่ไม่ซ้ำกันซึ่งมีมีลักษณะดังนี้ ให้ทำการ copy ในส่วนที่อยู่ในกรอบสีแดง
หลังจาก Copy key ดังกล่าวแล้ว ให้ทำการเปิดไฟล์ wp-config.php เพื่อตั้งค่า WordPress:sudo vi /var/www/html/wp-config.php
ค้นหาส่วนที่มีข้อความลักษณะดังนี้ และลบทั้งหมด แล้วนำKey ที่เราcopy เมื่อสักครู่ มาวางแทนที่ จะเป็นลักษณะดังรูป
ในไฟล์เดียวกัน ค้นหาข้อความตามรูปด้านล่าง และทำการแก้ไขการตั้งค่าการเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่เราทำการสร้างไว้ คุณต้องปรับชื่อฐานข้อมูล ผู้ใช้ฐานข้อมูลและรหัสผ่านที่เรากำหนดค่าไว้ใน MySQL ตั้งแต่เริ่มต้น
และ copy code ด้านล่างนี้วางต่อท้ายไว้ด้วยdefine('FS_METHOD', 'direct');
เมื่อทำทุกขั้นตอนข้างต้นเสร็จหมดแล้ว บันทึกไฟล์
ขั้นตอนที่ 8
ให้เข้าไปที่ Directory : /var/www/html แล้วทำการ ลบ หรือ เปลี่ยนชื่อ file : index.html ด้วยคำสั่งดังsudo rm index.html
(คำสั่ง ลบไฟล์)
เมื่อทำการลบ หรือ เปลี่ยนชื่อไฟล์แล้ว ให้ทำการ Restart service apache2sudo systemctl restart apache2
มาถึงขั้นตอนสุดท้าย ให้เราเปิด BROWSER ขึ้นมาแล้วใส่ http://server_domain_or_IP
ถ้าสำเร็จจะปรากฏหน้าเว็ป ดังรูป และให้เราทำการกำหนดข้อมูลในส่วนต่างๆของการใช้งาน WordPress ได้เลย เท่านี้ เราก็จะมีเว็ปเอาไว้ใช้งานกันแล้วครับ