OLS Community

Debian (OS) คืออะไร ? Linux Distribution ต้นแบบความสำเร็จด้วยแนวคิด Open Source !

Debian (OS) หรือ Debian GNU/Linux เป็นระบบปฏิบัติการฟรีที่มี Kernel ของ Linux เป็นแกนหลักของระบบปฏิบัติการ ซึ่ง Kernel เป็นโปรแกรมพื้นฐาน มีหน้าที่ดูแลและเป็นสื่อกลางระหว่าง Hardware กับ Software ที่ช่วยจัดการทรัพยากรในคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ใช้บริการเริ่ม.ใช้โปรแกรมอื่น ๆ ได้ และมีหน้าที่เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์ Input / Output และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น Mouse, Monitor, Keyboard และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระบบผ่าน Driver Computer อื่น ๆ เป็นต้น

ระบบ Debian เป็นเหมือนพีระมิดที่มีฐานเป็น Linux ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ฟรีโดย Linus Torvalds ที่ได้รับการสนับสนุนจากนักพัฒนาโปรแกรมทั่วโลก มีเครื่องมือพื้นฐานส่วนใหญ่จาก GNU ที่สามารถใช้งานได้ฟรีโดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ และนักพัฒนา Debian มาจากอาสาสมัครที่ร่วมกันช่วยพัฒนาระบบจนกลายเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความเสถียรและมีประสิทธิภาพการใช้งานที่สมบูรณ์แบบ ซึ่ง Debian มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็น Linux Distribution แห่งแรกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาด้วยแนวคิดแบบ Open Source โดยไม่มีเอกชนอยู่เบื้องหลัง เรียกได้ว่าเป็นต้นแบบให้กับชุมชนนักพัฒนาโปรแกรมอื่น ๆ อีกมากมายที่นำ Debian ไปพัฒนาต่อ เช่น Ubuntu และ Knoppix เป็นต้น

เนื่องจากการสนับสนุนชุมชนนักพัฒนาที่กว้างขวาง ทำให้ Debian มี Package ในโครงการให้เลือกใช้ฟรีมากกว่า 59,000 Packages ซึ่งอยู่ในรูปแบบ Binary Package หรือ .deb เป็นไฟล์เก็บถาวร และรองรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (Architecture) หรือ โครงสร้างของคอมพิวเตอร์มากกว่า 11 ชนิด ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ระบบฝังตัว ไปจนถึง Mainframe Computer เช่น 64-bit PC (amd64), 64-bit ARM (AArch64), EABI ARM (armel), Hard Float ABI ARM (armhf), 32-bit PC (i386), MIPS (little endian), 64-bit MIPS (little endian), POWER Processors และ IBM System z เป็นต้น ทำให้ระบบปฏิบัติการ Debian จึงมีความโดดเด่นกว่าโปรเจ็กต์ Linux อื่น ๆ ซึ่ง Debian Linux ยังมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์มากมายเหมาะสำหรับผู้ใช้มือใหม่และผู้ใช้ที่ที่มีความเชี่ยวชาญแล้ว 


ประวัติของ Debian (OS) เริ่มต้นอย่างไร ?

Debian (OS) ถูกก่อตั้งโดย Lan Murdock อย่างเป็นทางการในวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1993 ซึ่งในตอนแรกเรียกระบบนี้ว่า “The Debian Linux Release” โดยคำว่า “Debian” ตั้งจากรวมชื่อของ Lan และชื่ออดีตภรรยา Debra Lynn ซึ่งเป็นแฟนสาวของเขาในเวลานั้น เป็นช่วงระหว่างที่ Lan ยังเป็นนักศึกษาปริญญาตรีที่ Purdue University ซึ่งในขณะนั้นแนวคิดของ Linux Distribution ยังเป็นเรื่องใหม่อยู่ โดยจุดมุ่งหมายของ Lan คือต้องการให้ Debian พัฒนาแบบเปิดเหมือนอย่าง GNU และ Linux โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี หรือ Free Software Foundation (FSF) เป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1994 ถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1995


Logo ของ Debian (OS) มีที่มาจากอะไร ?

ใน ค.ศ. 1999 ภาพ Logo “Swirl” ของ Debian ถูกออกแบบโดย Raul Silva ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประกวดเพื่อแทนที่ภาพ Logo กึ่งทางการที่เคยใช้ โดยผู้ชนะการประกวดได้รับอีเมล @Debian.org และชุด CD ติดตั้ง Debian เป็นรางวัล โดยการออกแบบภาพ Logo “Swirl” มีลักษณะคล้ายการหมุนวนของควันสีดำจากตะเกียงวิเศษของยักษ์จินนี่ในเรื่อง Aladdin แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็นควันสีแดงแทน โดยความหมายของ Logo ยังไม่มีการแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจาก Debian แต่ในขณะที่มีการเลือกภาพ Logo นี้ มีข้อเสนอแนะว่าภาพ Logo เป็นตัวแทนของควันวิเศษที่ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

และยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับที่มาภาพ Logo ของ Debian คือ Buzz Lightyear จากการ์ตูน Toy Story ซึ่งเป็นตัวละครที่ได้รับเลือกสำหรับการเปิดตัว Debian ในชื่อแรก เพราะตัวละคร Buzz Lightyear มีสัญลักษณ์หมุนวนเหมือน Logo “Swirl” ที่คาง 

นอกจากนี้ Stefano Zacchiroli อดีตหัวหน้าผู้พัฒนา Debian มีความเห็นว่าสัญลักษณ์การหมุนวนที่คางของ Buzz Lightyear คือ Debian ซึ่ง Bruce Perens อดีตหัวหน้าของ Debian ยังเคยทำงานให้กับ Pixar อีกทั้งยังได้รับเครดิตในฐานะวิศวกรเครื่องมือของสตูดิโอใน Toy Story 2 (1999) อีกด้วย


12 ไทม์ไลน์ของ Debian Version จากอดีตถึงปัจจุบันมีอะไรบ้าง ?

Version ของ Debian ที่มีความเสถียรจะออกใหม่ประมาณทุก ๆ 2 ปี และในแต่ละ Version จะได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการเป็นเวลาประมาณ 3 ปี พร้อมอัปเดตการแก้ไขด้านความปลอดภัยหรือการใช้งานที่สำคัญ และมีการเปิดตัว Debian รุ่นย่อยสำหรับแก้ไขจุดบกพร่องหรือทำการล้างข้อมูลเล็กน้อย ซึ่งมีการอัปเดตเกือบทุกเดือนตามที่กำหนดโดย Stable Release Managers (SRM) โดยรายละเอียด Debian Version แต่ละรุ่นมีดังนี้

เปิดตัวเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1996 มี 474 Packages โดย Debian เปลี่ยนไปใช้รูปแบบ Binary ของ ELF อย่างสมบูรณ์และใช้ Linux Kernel 2.0

เปิดตัวเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1996 มี 848 Packages ที่ดูแลโดยนักพัฒนา 120 คน

เปิดตัวเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1997 มี 974 Packages ที่ดูแลโดยนักพัฒนา 200 คน

เปิดตัวเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 มีมากกว่า 1,500 Packages ที่ดูแลโดยนักพัฒนากว่า 400 คน มีการเปลี่ยนแปลงไปยัง libc6 และ Debian ถูกย้ายไปยังสถาปัตยกรรม Motorola 68000 Series (m68k)

เปิดตัวเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 1999 มีประมาณ 2,250 Packages และ Advanced Package Tool หรือ APT ส่วนหน้าถูกนำมาใช้สำหรับระบบการจัดการ Package และ Debian ถูกย้ายไปยังสถาปัตยกรรม Alpha และ SPARC

เปิดตัวเมื่อวันที่ 14–15 สิงหาคม ค.ศ. 2000 มี 2,600 Packages ที่ดูแลโดยนักพัฒนามากกว่า 450 คน ซึ่ง Package ใหม่ประกอบด้วย Display Manager GDM หรือตัวจัดการการแสดงผล GDM, บริการ Directory Service OpenLDAP, ซอฟต์แวร์ความปลอดภัย OpenSSH และ Mail Transfer Agent Postfix นอกจากนี้ Debian ถูกย้ายไปยังสถาปัตยกรรม PowerPC และ ARM

เปิดตัวเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 มีประมาณ 8,500 Packages ที่ดูแลโดยนักพัฒนามากกว่า 900 คน ซึ่ง K Desktop Environments (KDE) หรือชุมชนซอฟต์แวร์ฟรีระดับสากลได้รับการแนะนำและ Debian ถูกย้ายไปยังสถาปัตยกรรม IA-64 , PA-RISC (hppa), mips และ mipselและIBM ESA/390 (s390)

เปิดตัวเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2005 มีประมาณ 15,400 Packages และมีการเปิดตัว Debian-Installer เป็นตัวติดตั้งระบบที่ออกแบบสำหรับการแจกจ่าย Debian Linux และ OpenOffice.org หรือ OpenOffice เป็นชุดโปรแกรมสำนักงานแบบ Open Source ที่ยกเลิกไปแล้ว

เปิดตัวเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2007 มีประมาณ 18,000 Packages ที่ดูแลโดยนักพัฒนามากกว่า 1,030 คน ซึ่ง Debian ถูกย้ายไปยัง x86-64 (amd64) และมีการรองรับสถาปัตยกรรม Motorola 68000 Series (m68k) แต่ในปัจจุบันถูกยกเลิกแล้ว ซึ่งเวอร์ชัน Etch แนะนำการจัดการอุปกรณ์ utf-8 และ udev เป็นค่าเริ่มต้น

เปิดตัวเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 มีมากกว่า 23,000 Packages ซึ่ง Debian ถูกย้ายไปยังสถาปัตยกรรม ARM EABI (Armel)

เปิดตัวเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 มีมากกว่า 29,000 Packages ซึ่ง Linux Kernel ค่าเริ่มต้นถูกยกเลิกในเวอร์ชันนี้ และรองรับเว็บเบราว์เซอร์ Chromium ซึ่งเป็น Open Source Software จาก Google นอกจากนี้ Debian ถูกย้ายไปยังสถาปัตยกรรม kfreebsd-i386 และ kfreebsd-amd64 (ถูกยกเลิกในภายหลัง) และมีการรองรับสถาปัตยกรรม Intel 486 , Alpha และ PA-RISC (hppa) ซึ่งถูกยกเลิกในภายหลัง

Debian เวอร์ชัน Squeeze เป็นรุ่นแรกที่ส่วนประกอบของ Firmware ไม่ใช่แบบฟรี หรือที่เรียกว่า “Binary Blobs” ถูกแยกออกจากที่เก็บ “หลัก” ตามนโยบายของ Debian

เปิดตัวเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 มีมากกว่า 36,000 Packages เพิ่มการรองรับ Unified Extensible Firmware Interface (UEFI) และ Debian ถูกย้ายไปยังสถาปัตยกรรม armhf และ IBM ESA/390 (s390x)

เปิดตัวเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2015 มีมากกว่า 43,000 Packages โดยติดตั้ง Systemd เป็นค่าเริ่มต้นแทน Init และ Debian ถูกย้ายไปยังสถาปัตยกรรม ARM64 และ ppc64le ในขณะที่รองรับ IA-64, kfreebsd-amd64 และ kfreebsd-i386, IBM ESA/390 (s390) เฉพาะรุ่น 31 และ สถาปัตยกรรม SPARC ถูกยกเลิก นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนระยะยาว สิ้นสุดในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2020

เปิดตัวเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2017 มีมากกว่า 51,000 Packages และมีการอัปเดตย่อยขั้นสุดท้ายที่เรียกว่า “Point Release” คือเวอร์ชัน 9.13 เปิดตัวเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 ซึ่งมีการอัปเกรดที่สำคัญ ได้แก่ Linux Kernel เปลี่ยนจากเวอร์ชัน 3.16 เป็น 4.9, เวอร์ชัน GNOME Desktop เปลี่ยนจาก 3.14 เป็น 3.22, KDE Plasma 4 ได้รับการอัปเกรดเป็น Plasma 5, LibreOffice 4.3 อัปเกรดเป็น 5.2 และ Qt ซอฟต์แวร์ข้ามแพลตฟอร์มอัปเกรดจาก 4.8 เป็น 5.7 เพิ่ม LXQt ที่เป็น Desktop Environment แบบ Free and Open Source (FOSS)

รองรับสถาปัตยกรรม Intel i586 (Pentium), i586/i686 Hybrid และ PowerPC ไม่รองรับอีกต่อไป

เปิดตัวเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 มี 57,703  Packages รองรับ UEFI Secure Boot เปิด ใช้งาน AppArmor หรือ Application Armor เป็น Module ความปลอดภัยของ Linux Kernel เป็นค่าเริ่มต้น ใช้ LUKS2 เป็น รูปแบบ Linux Unified Key Setup (LUKS) เริ่มต้น และใช้ Wayland เป็น Protocol การสื่อสารสำหรับ GNOME เป็นค่าเริ่มต้น 

Debian 10 มาพร้อมกับ Linux Kernel เวอร์ชัน 4.19 ซึ่ง Desktop ที่มี ได้แก่ Cinnamon 3.8, GNOME 3.30, KDE Plasma 5.14, LXDE 0.99.2, LXQt 0.14, MATE 1.20, Xfce 4.12 และ Software Application หลัก ได้แก่ LibreOffice 6.1 สำหรับการทำงานในสำนักงาน, VLC 3.0 สำหรับการดูสื่อ และ Firefox ESR สำหรับการท่องเว็บไซต์

เปิดตัวเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 2021 ซึ่งใช้ Linux Kernel 5.10 LTS และถูกรองรับเป็นเวลา 5 ปี

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 มีการประกาศว่า “Homeworld” โดย Juliette Taka เป็นธีมเริ่มต้นสำหรับ Debian 11 หลังจากชนะการสำรวจความคิดเห็นสาธารณะที่มีตัวเลือก 18 ตัวเลือก

Bullseye ทิ้งไลบรารี Qt4/KDE 4 ที่เหลือและ Python 2 และจัดส่งด้วย Qt 5.15 KDE Plasma 5.20 และ Desktop ที่มี ได้แก่ Gnome 3.38, KDE Plasma 5.20, LXDE 11, LXQt 0.16, MATE 1.24 และ Xfce 4.16 

Bullseye ไม่รองรับสถาปัตยกรรม MIPS 32 bit แบบ big-endian ที่เก่ากว่า เพื่อไม่ให้สับสนกับสถาปัตยกรรม i386 32 bit ทั่วไปซึ่งยังคงรองรับอยู่

เป็นรุ่นทดสอบปัจจุบันของ Debian และเป็นตัวเต็งรุ่นถัดไปสำหรับ Debian คาดว่า Debian 12 จะเปิดใช้งาน Link-Time Optimization (LTO) เป็นค่าเริ่มต้น ซึ่งเป็นชุดเทคนิค Compiler ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และ Debian 12 อาจลดการรองรับ i386 แต่ยังไม่ได้กำหนดอย่างเป็นทางการ 

นอกจากนี้ Debian ยังเปิดตัวโครงการ Long Term Support (LTS) ตั้งแต่ Debian 6 (Squeeze) ซึ่งจะได้รับการอัปเดตความปลอดภัยพิเศษเป็นเวลา 2 ปี โดยทีม LTS และหลังจากสิ้นสุดอายุการใช้งาน (EOL) จะไม่มีการอัปเดตเพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบัน Debian แต่ละรุ่นสามารถรับการสนับสนุนด้านความปลอดภัยได้ทั้งหมด 5 ปี โดยสามารถดูช่วงเวลาการการสนับสนุนของ Debian ตั้งแต่รุ่น 6 ขึ้นไปตามภาพด้านล่างนี้


10 เหตุผลที่ควรใช้ Debian (OS) มีอะไรบ้าง ?

1. Debian เป็นซอฟต์แวร์ฟรี !

Debian เป็น Free and Open Source Software ที่สามารถใช้งานได้ฟรี 100 % สำหรับทุกคน โดยสามารถนำมาใช้ แก้ไข และแจกจ่ายได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

2. ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานทั่วโลก 

Debian มีผู้ใช้จำนวนมหาศาล และมีองค์กรมากมายที่เลือกใช้งาน เช่น สถาบันการศึกษา, องค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่, องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และ องค์กรภาครัฐ เป็นต้น

3. ระบบมีความเสถียรและปลอดภัย 

Debian มีการกำหนดค่าเริ่มต้นที่เหมาะสมสำหรับทุก Package และมีการอัปเดตความปลอดภัยเป็นประจำตลอดอายุการใช้งาน ซึ่งเป็น 1 ในคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของ Debian โดยมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความปลอดภัยและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย คอยดูแลและพัฒนา Debian เวอร์ชันใหม่ ๆ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นอยู่เสมอ จึงทำให้ Debian มีความเสถียรและใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้นและนักพัฒนาทั่วไป 

4. ให้การสนับสนุนระยะยาวฟรี

Debian มีการสนับสนุนระยะยาว (LTS) ฟรี ช่วยยืดอายุการใช้งานของ Debian รุ่นเสถียรทั้งหมดเป็นอย่างน้อย 5 ปี นอกจากนี้ Debian แบบ Extended LTS ในเชิงพาณิชย์ ยังสนับสนุนชุด Package เป็นเวลามากกว่า 5 ปีอีกด้วย

5. รองรับการใช้งานรูปแบบ Cloud Images 

Debian สามารถใช้งานบน Cloud ได้อย่างเป็นทางการ พร้อมรองรับการให้บริการสำหรับ Cloud Platforms หลักทั้งหมด อีกทั้งยังมีเครื่องมือและการกำหนดค่าเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถสร้าง Images บน Cloud ของตนเองได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Debian ใน Virtual Machines บน Desktop หรือ Container ได้เช่นกัน 

6. เพิ่มความยืดหยุ่นสำหรับการติดตั้ง

Debian มี Live CD สำหรับผู้ใช้บริการที่ต้องการทดลองใช้ Debian ก่อนทำการติดตั้งจริง นอกจากนี้ยังมีตัวติดตั้ง Calamares ซึ่งทำให้ง่ายต่อการติดตั้ง Debian จากระบบที่ใช้งานอยู่แบบเรียลไทม์ ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์สามารถใช้ตัวติดตั้ง Debian พร้อมตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับการปรับแต่ง รวมถึงเครื่องมือติดตั้งเครือข่ายอัตโนมัติได้ตามที่ต้องการ

7. เลือกอัปเกรด Debian ได้ตามความเหมาะสม

Debian มีการอัปเดตระบบปฏิบัติการให้ทันสมัยอยู่เสมอ และผู้ใช้บริการสามารถอัปเกรดระบบให้เป็นเวอร์ชันใหม่ทั้งหมดหรืออัปเดตเฉพาะเพียง Package เดียวตามต้องการได้โดยไม่มีปัญหาต่อการใช้งาน

8. หนึ่งในต้นแบบสำหรับ Distributions อื่น ๆ มากมาย

Debian เป็นต้นแบบให้กับ Linux Distributions ยอดนิยมอื่น ๆ เช่น Ubuntu, Knoppix, PureOS และ Tails เป็นต้น ซึ่ง Debian มีเครื่องมือหลากหลายที่พร้อมให้นักพัฒนาทุกท่านสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดต่าง ๆ หรือเพิ่ม Software Packages ของ Debian ด้วยตนเองได้เช่นกัน

9. ตอบโจทย์ทุกการพัฒนาพร้อมรองรับระบบที่หลากหลาย 

Debian รองรับ Hardware ส่วนใหญ่เช่นเดียวกับ Linux Kernel และ Drivers รวมถึงสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (Architectures) มากมาย เช่น amd64, i386, ARM และ MIPS หลายเวอร์ชัน, POWER7, POWER8, IBM System z และ RISC-V เป็นต้น ซึ่ง Debian ยังพร้อมใช้งานสำหรับสถาปัตยกรรมเฉพาะด้วย

นอกจากนี้ Debian ยังมี Software Packages จำนวนมหาศาลให้เลือกใช้งานกว่า 59,000 Packages และมี IoT และระบบฝังตัว หรือสมองกลฝังตัว (Embedded System) สามารถทำงานบนอุปกรณ์ได้หลากหลายประเภท เช่น Raspberry Pi, Variants of QNAP, Mobile Devices, Home Routers และ Single Board Computers (SBC) หรือคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวจำนวนมาก เป็นต้น

10. เป็นชุมชนนักพัฒนาที่แข็งแกร่งและกระจายอยู่ทั่วโลก

ทุกท่านสามารถเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนักพัฒนาของ Debian ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักพัฒนาหรือผู้ดูแลระบบของ Debian เนื่องจากสมาชิกทุกท่านในโครงการ Debian มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน สามารถให้ความช่วยเหลือหรือแบ่งปันความรู้ได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งชุมชนนักพัฒนาของ Debian มีหลากหลายเชื้อชาติมากกว่า 60 ประเทศ และ Debian ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 80 ภาษา 


คุณพร้อมใช้งาน Debian (OS) แล้วหรือยัง ?

Debian เป็น Linux Distribution หรือ Distro ที่พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นมากมาย เช่น ระบบจัดการ Package, ระบบติดตั้งจากคลัง และ Utility หรือโปรแกรมที่ช่วยจัดการระบบทางด้านต่าง ๆ รวมไปถึงดูแลรักษาและซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของตนเอง จนกลายเป็นรูปแบบการใช้งานที่เป็นอีกหนึ่งบรรทัดฐานที่มีคุณภาพของการใช้งาน Linux ที่มีความเสถียรและใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้นทั่วไปตลอดจนถึงนักพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ

สำหรับผู้ที่สนใจใช้บริการ Debian สามารถติดตั้งพร้อมใช้งานได้ฟรีบน OpenLandscape Cloud ที่ https://gate.openlandscape.cloud

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อ OpenLandscape ได้ผ่านทางอีเมล technical-support@ols.co.th หรือ Call Center 02-257-7189 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


ข้อมูลอ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Debian

https://en.wikipedia.org/wiki/Debian_version_history

https://www.debian.org/intro/why_debian.en.html

https://www.debian.org/releases/stable/installmanual.en.html

https://www.debian.org/users/index.en.html