OLS Community

Cloud Computing คือ อะไร เทคโนโลยีสุดล้ำที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต

Cloud Computing คือ อะไรกันแน่ ?

หากพูดถึงคำว่า Cloud หลาย ๆ คนอาจจะนึกถึงบริการ iCloud, Dropbox, Google Drive หรือ Microsoft และ Onedrive กันใช่ไหม เพราะบริการเหล่านี้เป็นบริการที่เราคุ้นเคยกันดี เนื่องจากใช้กันอยู่เป็นประจำ เพื่อไว้ใช้จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ แต่ถ้าหากเราถามถึงคำว่า Cloud Computing คืออะไร หลายคนอาจยังสับสนและไม่แน่ใจว่า ต่างหรือเหมือนกันอย่างไรกันแน่ เชื่อว่าหลายคนอาจเดาว่าชื่อคล้ายกันเลยน่าจะคล้ายกันสิ ซึ่งคำตอบคือ ถูกแค่ครึ่งเดียว เพราะบริการข้างต้นที่เราได้กล่าวกันมานั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของบริการ Cloud Computing เท่านั้น ซึ่งเป็นบริการที่เรียกว่า Cloud Storage

“แล้วอย่างงี้ Cloud Computing ที่เราพูดถึงคืออะไรกันแน่ ?”

Cloud Computing คือ บริการที่ให้เราใช้หรือเช่าใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือทรัพยากรด้านคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ โดยครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งเราสามารถเลือกกำลังการประมวลผล เลือกจำนวนทรัพยากร ได้ตามความต้องการในการใช้งาน พูดง่าย ๆ คือ ใช้เท่าไหร่ จ่ายเท่านั้นนั่นเอง นอกจากนี้เรายังสามารถเข้าถึงข้อมูลบน Cloud จากที่ไหนก็ได้เรียกได้ว่าทั้งสะดวกสบายแถมยังประหยัดเวลาแบบสุด ๆ


ประเภทของ คลาวด์คอมพิวติ้ง มีแบบไหนบ้าง 

Private Cloud

คือ การตั้งคลาวด์ส่วนตัว โดยแต่ละบริษัทหรือองค์กรจะลงทุนจัดตั้ง Hardware และ Software ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการทำ Cloud Datacenter ขึ้นมาเป็นของตัวเอง เพื่อให้พนักงานในองค์กรใช้เท่านั้น

  ข้อมูลปลอดภัยเพราะจัดเก็บอยู่ภายใน Datacenter ของตัวเอง

ไม่สามารถ Scale Out แบบกะทันหัน เมื่อเกิด Workload Peak Time ได้เหมือนกับ Public Cloud และมีค่าใช้จ่ายสูงเพราะต้องลงทุนซื้อ Hardware และ Software รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบเองทั้งหมด

Public Cloud

คือ คลาวด์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ โดยจะมีผู้ให้บริการระบบคลาวด์เป็นคนตั้งระบบ Hardware และ Software ขึ้นมา แล้วให้แต่ระบริษัทหรือองค์กรเข้าไปเช่าใช้บริการ อาจจะจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี

 ประหยัดเงินได้มากกว่า เพราะไม่ต้องลงทุนตั้ง Cloud Datacenter เป็นของตัวเอง

อาจมีปัญหาด้าน IT Policy Audit ในบางบริษัท เพราะบางบริษัทห้ามเก็บข้อมูลไว้นอกองค์กร

Hybrid Cloud

คือ เป็นการเอาข้อดีของระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud มาใช้ร่วมกัน เช่น การนำ Private Cloud มาใช้สำหรับเก็บข้อมูลภายในองค์กร และใช้ Public Cloud มาใช้เพื่อการ Scale Out ในการประมวลผลในช่วงที่เกิด Workload Peak Time เป็นต้น

 เพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการได้มากขึ้นและอุดข้อเสียของทั้ง 2 รูปแบบนั้นได้

มีความยุ่งยาก เพราะรายละเอียดของ Cloud ทั้งสองแบบนั้นต่างกันมาก ต้องมีผู้เชี่ยวชาญปรับแต่งระบบให้ทำงานร่วมกันและทดสอบบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความเสถียร

Multi Cloud

คือ การใช้งานร่วมกันของ Cloud Provider ตั้งแต่ 2 ผู้ให้บริการขึ้นไป เพื่อลดความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ในการใช้งาน มีความแตกต่างจาก Hybrid Cloud ที่ใช้ร่วมกันระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud

เลือกใช้ทรัพยากรและบริการเฉพาะจากผู้ให้บริการหลายรายเพื่อได้รับประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน 

ต้องมีผู้เชี่ยวชาญออกแบบและจัดทำ Solution ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งานขององค์การ ทั้งในด้านการดูแลและการทำงานของระบบ Cloud Platforms รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและ Hypervisor ที่ต่างกัน


บริการ ของคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Service Models) มีอะไรบ้าง

Software as a Service (SaaS)

คือ บริการที่ให้ใช้หรือเช่าใช้บริการ Software และ Application ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยประมวลผลบนระบบของผู้ให้บริการโดยที่เราไม่ต้องกังวลหรือหาคนมาดูแล Infrastructure และคนมาสร้าง Application ให้เรา เพราะทุกอย่างได้ถูกจัดเตรียมมาโดยผู้ให้บริการเรียบร้อยแล้ว

ข้อดี คือ ไม่ต้องลงทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์เอง ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานผ่าน Cloud จากที่ไหนก็ได้

ตัวอย่างที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด เช่น Google Docs ที่มาในรูปแบบการใช้ซอฟต์แวร์ผ่านเว็บบราวเซอร์ โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนเครื่อง หรือ Web-based Email Service ต่าง ๆ เช่น Hotmail, Gmail, Facebook, Twitter ที่มีการเก็บโปรแกรมและข้อมูลต่าง ๆ ไว้ที่ Host แล้วให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Application ต่าง ๆ ผ่านทางเว็บได้ ถือว่าเป็นบริการประเภทนี้อีกเช่นเดียวกัน

Platform as a Service (PaaS)

คือ การให้บริการด้าน Platform สำหรับผู้ใช้งาน เช่น นักพัฒนาระบบ หรือ Developer ที่ทำงานด้าน Software และ Application โดยผู้ให้บริการ Cloud จัดเตรียมทรัพยากรสำหรับการพัฒนาระบบที่จำเป็น เช่น Hardware, Software และ ชุดคำสั่ง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาระบบได้อย่างสมบูรณ์แบบบนระบบ Cloud

ข้อดี คือ สามารถช่วยลดต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ได้

ตัวอย่างบริการทางด้านนี้ เช่น Google App Engine, Microsoft Azure ที่สามารถนำมาพัฒนาแอปพลิเคชันที่ให้บริการคนจำนวนมหาศาลได้ โดยใช้เวลาพัฒนาไม่นานด้วยทีมงานแค่ไม่กี่คน

Infrastructure as a Service (IaaS)

คือ บริการที่ครอบคลุมเฉพาะในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีได้แก่ ระบบเครือข่าย (Network), ระบบจัดเก็บข้อมูล (Database), ระบบประมวลผล (CPU) ไปจนถึงอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น Servers และ ระบบปฏิบัติการ (OS)ใ นรูปแบบระบบเสมือน (Virtualization) โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อ Hardware ที่มีราคาแพง

ข้อดี คือ ไม่ต้องลงทุนซื้อเอง สามารถขยายได้ง่ายตามการเติบโตของบริษัทและมีความยืดหยุ่นสูง ลดความยุ่งยากในการดูแลระบบเอง แต่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลระบบด้าน IT

ตัวอย่างของบริการให้เช่ากำลังประมวลผล บริการให้เช่าเซิร์ฟเวอร์เสมือน เพื่อใช้ลงและรันแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่เราต้องการเช่น OpenLandscape Cloud, Google Compute Engine, Amazon Web Services, Microsoft Azure เป็นต้น

สรุป

จะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้ว Cloud Computing ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ไกลตัวและยังใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก หรือแม้กระทั้งโปรเจกต์เล็ก ๆ ของเราให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มศักยภาพทั้งในด้านของความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น และความปลอดภัย รวมไปถึงยังสามารถช่วยลดต้นทุนและประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากอีกด้วยเช่นกัน สำหรับใครที่อยากรู้ว่า ประโยชน์ ของ Cloud Computing มีอะไรบ้างเราขอแนะนำบทความ : Cloud computing ประโยชน์ ที่ให้ได้มากกว่าความประหยัด

ติดตามข่าวสารใหม่ๆ หรือข้อมูลน่ารู้อีกมากมายได้ที่

  OpenLandscape Fanpage | https://www.facebook.com/openlandscapecloud/
  OpenLandscape Twitter | https://www.twitter.com/olscloud/
  OpenLandscape Cloud | https://openlandscape.cloud/